ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเครื่องยนต์ดีเซลเมื่อใช้น้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันรำข้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเครื่องยนต์ดีเซลจากการใช้น้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันรำข้าวโดยการผลิตด้วยวิธีขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอน (Single & Two-Step Method) เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซลพบว่า การทดสอบกับเครื่องยนต์ดีเซลการเกษตรประเภทความเร็วรอบคงที่ขนาด 11.5 แรงม้า สามารถจุดระเบิดได้ด้วยไบโอดีเซลเอง และเครื่องยนต์สามารถทำงานได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซลมีปริมาณน้อยกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ทั้งนี้เนื่องจากในโมเลกุลของน้ำมันไบโอดีเซลมีจำนวนคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบน้อยกว่า และมีจำนวนออกซิเจนที่เป็นองค์ประกอบมากกว่า จึงทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มากว่าน้ำมันดีเซลอย่างไรก็ตามควรศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบต่อความสึกหรอของเครื่องยนต์ในระยะยาว เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] วัฒนา ปิ่นเสม นฤมล เครือองอาจนุกูล สลัก จิตบัวทอง และ ธารีรัตน์ วรธรรมานนท์. ไบโอดีเซล (เมทิลเอสเทอร์)จากน้ำมันพืชที่สกัดได้จากรำข้าว. ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 ; 2549.
[3] สุกัญญา หงส์ทอง และ สมใจ ขจรชีพพันธุ์งาม. การผลิตไบโอดีเซลจากน้ามันร้าข้าวด้วยกระบวนการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาและไม่ใช้ ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเมทานอลภาวะเหนือวิกฤต. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 2553; 18 (3): 20-26.
[4] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.moac.go.th
[5] Wang Y, Ou S, Liu P, Zhang Z. Preparation of Biodiesel from Waste Cooking Oil via Two-Stepcatalyzed Process. Energy Conversion and Management 2006; 48: 184-188.
[6] Al-Widyan MI, Tashtoush G, Abu QM. Utilization of Ethyl Ester of Waste Vegetable Oils Asfuel in Diesel Engines. Fuel Processing Technology 2002; 76: 91–103.
[7] Lin, CY, Lin HA. Diesel Engine Performance and Emission Characteristics of Biodiesel Produced by The Peroxidation Process. Fuel 2005; 85: 298–305.
[8] Çetinkayaa M, Ulusoyb Y, Tekìnb Y, Karaosmanoglu F. Engine and Winter Road Test Performancesof used Cooking Oil Originated Biodiesel. Energy Conversion and Management 2005 ; 46 (7-8): 1279–1291.
[9] Ramadhas AS, Jayaraj S, Muralledharan C. Characterization and Effect of Using Rubber Seed Oil as Fuel in The Compression Ignition Engine. Renewable Energy 2005; 30: 795-803.