การจัดสร้างต้นแบบกระบะเพาะชำต้นกล้ากล้วยควบคุมอุณหภูมิโดยแหล่งน้ำธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการสร้างต้นแบบกระบะเพาะชำ เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากล้วยโดยการใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติไหลผ่านกระบะเพาะชำต้นแบบกระบะเพาะชำนี้ออกแบบ โดยมีโครงสร้างเหล็กและใช้ท่อทองแดงในการถ่ายเทความร้อน โดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยมีอุณหภูมิจากผลการจำลองคือ 22 องศาเซลเซียสแต่ในการทดสอบกับต้นแบบกระบะเพาะชำ จะใช้แหล่งน้ำที่จัดเตรียมขึ้นเอง อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่ต้องการสำหรับการอนุบาลต้นกล้ากล้วยใน 30 วัน อยู่ในช่วง28-30 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 90% RH,ตามลำดับ ผลการทดสอบต้นแบบกระบะเพาะชำพบว่าอุณหภูมิภายในกระบะในช่วงอนุบาล 30 วัน มีอุณหภูมิอยู่ที่ระหว่าง 27-30 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์สามารถควบคุมได้ตามที่ต้นกล้ากล้วยต้องการคือมากกว่า 90% RH ขึ้นไป อัตราการรอดของต้นกล้ากล้วยอนุบาลในต้นแบบกระบะเพาะชำเท่ากับร้อยละ 69 ซึ่งกระบะเพาะชำแบบเดิมมีอัตราการรอดเพียงร้อยละ 16
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] Suphanburi Agricultural Extension and Development Center (Plant-Tissue Culture)
[3] เบญจมาศ ศิลาน้อย ฉลองชัย แบบประเสริฐ และกัลยาณี สุวิทวัส. กล้วยไข่เกษตรศาสตร์ 2 ; 2549.
[4] Koca A, Kanbur BB, Gursel Cetin, Acet RC, Topacoglu Y, Gemici Z. Experimental Investigation of Heat Transfer Coefficients between Hydronic Radiant Heated Wall and Room. Energy and Buildings 2014; 82: 211–221.