การพัฒนากลไกของระบบลำเลียงเหง้ามันสำปะหลัง โดยการศึกษาวิเคราะห์แบบเวนน์ ออยเลอร์ (Euler diagram)

Main Article Content

มนตรี ทาสันเทียะ

บทคัดย่อ

การพัฒนากลไกของระบบลำเลียงเหง้ามันสำปะหลังในการออกแบบสร้างเครื่องเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังต้นแบบ เป็นการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง 3 ปัจจัยคือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพเมื่อถึงอายุการเก็บเกี่ยว ลักษณะของแปลงปลูกและพฤติกรรมของหัวมันสำปะหลังระหว่างทำการขุด สุดท้ายคือเครื่องจักรต้นกำลังและประสิทธิภาพในการทำงาน นำมาวิเคราะห์แบบเวนน์ ออยเลอร์ (Euler diagram) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ก่อนการออกแบบสร้างและพัฒนากลไกลในระบบลำเลียงเหง้ามันสำปะหลัง กำหนดให้สมาชิกของปัจจัยต่างๆที่ได้จากการศึกษาเก็บข้อมูลมาจากเครื่องขุดมันสำปะหลังต้นแบบที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า กลไกในระบบลำเลียงจะประกอบด้วย ความเร็วในการเก็บเกี่ยว 2.6 กม./ชม ระบบลำเลียงแบ่งออกเป็น ระบบลำเลียงเหง้ามีความเร็วเชิงเส้นเท่ากับ 0.80 เมตร/วินาที ระบบลำเลียงหัวมันสำปะหลังที่ขุดได้ มีความเร็วเชิงเส้นเท่ากับ 0.75 เมตร/วินาที

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] ประสาท แสงพันธุ์ตา.2548.การออกแบบและพัฒนา เครื่องขุดและรวบรวมหัวมันสำปะหลัง.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล] กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[2] พยุงศักดิ์ จุลยุเสนและคณะ.2557.การพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแบบตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้า.สาขาวิศวกรรมเกษตร สำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.วิทยาศาสตร์เกษตร .353-356 น.

[3] วิชา หมั่นทำการ.2552.เครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง.ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มาhttp://www.rdi.ku.ac.th,เข้าดูเมือวันที่ 30 /7/ 2553

[4] ศุภวัฒน์ ปากเมย.2540.การออกแบบและประเมินเครื่องขุดมันสำปะหลัง.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเครื่องจักรกลเกษตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น

[5] ศักดา อินทรวิชัย และคณะ.2542. เครื่องจักรกลเกษตรที่ใช้ในการเพาะปลูกมันสำปะหลัง: เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัท เจ ฟิล์ม โปรเซส จำกัด