การปรับปรุงความแข็งแรงของโครงช่วงล่างของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวไทย

Main Article Content

คงเดช พะสีนาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงความแข็งแรงของโครงช่วงล่างเครื่องเกี่ยวนวดข้าวไทย โดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์กับแบบจำลองโครงช่วงล่างตามสภาวะการทำงาน 2 แบบ คือ หัวเกี่ยวขนานกับพื้นและหัวเกี่ยวถูกยกสูงสุด ผลการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงช่วงล่างแสดงให้เห็นว่า ความเค้นสูงสุดในกรณีหัวเกี่ยวขนานกับพื้นและกรณีหัวเกี่ยวถูกยกสูงสุดมีค่าเท่ากับ 91.1 MPa และ 91.7 MPa ตามลำดับ ส่วนการโก่งตัวสูงสุดมีค่าเท่ากับ 2.313 mm และ 2.355 mm ตามลำดับ ผลการปรับปรุงแบบจำลองโครงช่วงล่างทำให้ความแข็งแรงเพิ่มขึ้น 53% และมวลลดลง 19.5%

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] คงเดช พะสีนาม, พยุงศักดิ์ จุลยุเสน, คธา วาทกิจ และจรูญศักดิ์ สมพงศ์. (2555). การศึกษาความแข็งแรงของโครงช่วงล่างเครื่องเกี่ยวนวดข้าวไทย, การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

[2] คงเดช พะสีนาม, พยุงศักดิ์ จุลยุเสน, คธา วาทกิจ และจรูญศักดิ์ สมพงศ์. (2556). การศึกษาความแข็งแรงและสัดส่วนที่เหมาะสมของแบบจาลองโครงช่วงล่างเครื่องเกี่ยวนวดข้าวไทย. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

[3] คงเดช พะสีนาม, พยุงศักดิ์ จุลยุเสน, คธา วาทกิจ, จรูญศักดิ์ สมพงศ์. (2557). การวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงช่วงล่างของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวไทยโดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, การประชุมวิชาการงานเกษตรแฟร์นนทรีอีสาน ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

[4] ธรรมนูญ สีดาคาร, สำรวจ อินแบน. (2550). การวิเคราะห์และปรับปรุงความแข็งแรงของบ่าเพลาลูกหีบ, การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21, จังหวัดชลบุรี

[5] บริษัท ทะเลทอง แฟคตอรี่ จำกัด. (2555). ข้อมูลจำเพาะของรถเกี่ยวนวดทะเลทอง, เอกสารแผ่นพับ.

[6] วินิต ชินสุวรรณ. (2553). การศึกษาประเมินประสิทธิภาพเครื่องเกี่ยวนวดข้าวเพื่อลดความสูญเสียและเพิ่มศักยภาพในการส่งออก. รายงานโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.).

[7] สาทิส เวณุจันทร์, จารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ, มานพ คันธามารัตน์, ทรงยศ จันทรมานิตย์. (2548). วิจัยและพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดข้าวขนาดเล็ก. เอกสารวิชาการ, กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร.

[8] สันธาร นาควัฒนานุกูล, ทรงยศ จันทรมานิตย์, วชิรพันธ์ ตันติภูมิอมร, มานพ คันธามารัตน์. (2544). ศึกษาและพัฒนาระบบการใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวในประเทศไทย, การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

[9] Kalsirisilp Roongruang and Gajendra Singh. (2001). Power Requirement of a Thai-made Rice Combine Harvester. Proceedings of the 2001 Annual Conference of Thai Society of Agricultural Engineering, Khon Kaen, Thailand.