การศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่ไข่ด้วยระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ ด้วยถังหมักแบบโมดิฟายด์โคเวอร์ลากูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการทดลองเพื่อศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่ไข่ในฟาร์มขนาดใหญ่ด้วยระบบผลิตก๊าซชีวภาพด้วยถังหมักแบบโมดิฟายด์โคเวอร์ลากูน (Modified Covered Lagoon Reactor (MCLR)) โดยระบบผลิตก๊าซประกอบไปด้วย 1)พื้นที่เก็บวัตถุดิบ 2)ถังเก็บน้ำดิบ 3)บ่อผสมเป็นบ่อขนาด 200 m3 มีมอเตอร์ใบกวนและปั้มสูบน้ำ 4)บ่อหมักแบบ MCLR ขนาด 4,000 m3 5)บอลลูนเก็บก๊าซขนาด 4,000 m3 6)ระบบผลิตความร้อนจากก๊าซชีวภาพ และ 7)ระบบผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ทำการทดลองเพื่อหาปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพ โดยอัตราการเติมน้ำเสียเฉลี่ย 550 m3/วัน จากการทดลองพบว่าปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพเฉลี่ย คือ 10,234 m3/วัน และค่าเฉลี่ยของอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพต่อวันเท่ากับ 0.54 m3/kg-COD หรือ 0.82 m3/kg-VS การวัดค่าพารามิเตอร์พบว่าค่าเฉลี่ยของ COD ของน้ำเสียก่อนเข้าระบบ (Influent) เท่ากับ 38,474 mg/l น้ำเสียในบ่อหมัก (Reactor) เท่ากับ 7,458 mg/l มีค่าเฉลี่ยของสัดส่วนระหว่าง VFA/Alk ในบ่อหมักคือ 0.20 และพบว่าค่าร้อยละของการกำจัด COD ของระบบมีค่ามากกว่า 60% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบผลิตก๊าซชีวภาพยังสามารถเดินระบบไปได้ปกติ การกำจัด COD ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพมีผลต่อการเกิดก๊าซชีวภาพ ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มี CH4, CO2 และ H2S เท่ากับ 58.58%, 35.24% และ 4,510.15 ppm ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพกับของเสียชนิดอื่น ๆ พบว่าอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพของมูลไก่ไข่มีอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพสูงที่สุด
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] Vilis Dubrovskis, Imants Plume and Indulis Straume. “ANAEROBIC DIGESTION OF COW AND BROILER MANURE”. International Conferences of ENGINEERING FOR RURAL DEVELOPMENT. Jelgava. Date : 29.-30 May 2008.
[3] Yun Xia, Daniel I. Mass, Tim A. McAllister, Carole Beaulieu and Emilio Ungerfeld. “Anaerobic digestion of chicken feather with swine manure or slaughterhouse sludge for biogas production”. Journal of Waste Management. Vol.32. pp404–409. 2012.
[4] G. Bujoczek, J. Oleszkiewicz, R. Sparling and S. Cenkowski. “High Solid Anaerobic Digestion of Chicken Manure”. Journal of Agriculture Energy and Resource Vol.76. pp51-60. 2000.
[5] Fatma Abouelenien, Yutaka Nakashimada, and Naomichi Nishio. “Dry mesophilic fermentation of chicken manure for production of methane by repeated batch culture”. Journal of Bioscience and Bioengineering. VOL. 107 No. 3. pp293–295. 2009.
[6] Helton Jose´ Alves, Cı´cero Bley Junior, Rafael Rick Niklevicz and Elisandro Pires Frigo. “Overview of hydrogen production technologies from biogas”. International Journal of Hydrogen Energy. Vol.1-11. 2010.
[7] Rajesh Ghosh and Sounak Bhattacherjee. “ A review study on anaerobic digesters with an Insight to biogas production”. International Journal of Engineering Science Invention. Volume 2 Issue 3. pp08-17. 2013