การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อย

Main Article Content

รัชพล สันติวรากร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อย โดยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียน  ซึ่งใช้ก๊าซ  LPG เป็นเชื้อเพลิงและใช้ทรายเป็นตัวพาความร้อน ในการทดลองผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยได้กำหนดให้ทำการทดลองที่อัตราการไหลของทรายที่ 4.5  กิโลกรัมต่อวินาที  ความเร็วของลมเริ่มต้นเท่ากับ  5 , 6  และ 7 เมตรต่อวินาที และ อุณหภูมิทรายที่  440 ºC ถึง 520 ºC จากการทดสอบพบว่าเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียน สามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยได้สัดส่วน สูงสุดที่ 68.93  wt% ที่อุณหภูมิทราย   480  ºC และความเร็วของลม 7 เมตรต่อวินาที  โดยสัดส่วนผลผลิตของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้มีค่าแปรผกผันกับอุณหภูมิทราย ซึ่งเมื่ออุณหภูมิของทรายสูงขึ้นจะทำให้สัดส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพมีค่าลดลง จากนั้นเมื่อนำน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้มาวิเคราะห์คุณสมบัติของเชื้อเพลิงพบว่ามีค่าความร้อน ค่าความหนืด ค่าความหนาแน่นและค่า pH เท่ากับ 18,389  kJ.kg-1 , 24.54 , 1,259  kg.m-3 และ 2 ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยพบว่ามีต้นทุนการผลิต  29.05    บาทต่อลิตร

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] วิชาการ.คอม. (2547). เชื้อเพลิงสังเคราะห์จากกระบวนการเคมีความร้อน, แหล่งที่มาhttp://www.vcharkarn.com/javafeed/ article/37774,เข้าดูเมื่อวันที่ 28/06/2551.

[2] Sevgi,Sensoz.,Dilek,Angin. (2008). Pyrolysis of safflower (Charthamus tinctorius L.) seed press cake in a fixed-bed reactor: Part 2. Structural characterization of pyrolysis bio-oils. Bioresource Technology, 99 , 5498 – 5504.

[3] วรดาณ์ มูลศรีแก้ว (2008). การผลิตน้ำมันชีวภาพจากซังข้าวโพด ต้นสบู่ดำ และกากผลมะนาว และปรับปรุงคุณภาพด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานิเกิลบนถ่านกำมันต์ที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ถ่านชาร์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพมหานคร

[4] วิทยา ปั้นสุวรรณ (2007). ไพโรไลซีสของเมล็ดสบู่ดำ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

[5] นันทภพ จันตระกูล (2009). การสังเคราะห์น้ำมันจากแผ่นกั้นแบตเตอรี่โดยใช้กระบวนการไพโรไลซีส, มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

[6] ปิรัตน์ วีระชาญชัย (2006). คุณลักษณะของน้ำมันชีวภาพจากการสลายมวลชีวภาพด้วยกระบวนการไพโรไลซีส,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

[7] ณัฐวุฒิ เลาหะกาญจนศิริ (2001). การกลั่นลำดับส่วนของเหลวทาร์ที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซีสไม้ไผ่,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร

[8] ธนศิษฐ์ วงศ์ศิริอำนวย (2010). การผลิตน้ำมันชีวภาพจากไม้และพลาสติกเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

[9] พิพัฒน์ พิเชษพงษ์ (2013). ผลของอุณหภูมิในการไพโรไลซีสต้นสบู่ดำและต้นมันสำปะหลัง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

[10] กีรติณัฏฐ์ ธนกิจธรรมกุล (2010). การผลิตน้ำมันชีวภาพจากฟางข้าวโดยไพโรไลซีสแบบเร็ว,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

[11] กฤดาธัญ ร่มพล (2005). การแยกสลายขยะพอลสไตรีนด้วยความร้อน,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

[12] ภัทรานิษฐ์ รัศมีดารา (2009). การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากไพโรไลซีสของยางรถยนต์ใช้แล้วโดยไมโครเวฟ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

[13] สุพจน์ แหวนเพ็ชร์ (2009). การผลิตไบโอออยล์จากผักตบชวาโดยการไพโรไลซีสแบบเร็ว,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

[14] วศกร ตรีเดช (2010). การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากใบอ้อยในเตาปฏิกรณ์แบบฟลูอิดไดซ์เบด,มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น