การพัฒนาระบบระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกแบบจลน์สำหรับการทำเกษตรแม่นยำ : การตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของค่าพิกัดตำแหน่ง

Main Article Content

คธา วาทกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของค่าพิกัดตำแหน่งจากระบบระบุพิกัดตำแหน่งแบบจลน์ที่ได้พัฒนาขึ้น อุปกรณ์ในระบบประกอบด้วยชุดสถานีฐานเพื่อใช้สำหรับส่งค่าข้อมูลพิกัดตำแหน่งที่ปรับแก้แล้วไปยังชุดเครื่องรับผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตจากสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยการสื่อสารแบบ TCP/IP ในการทดสอบได้กำหนดค่าพิกัดตำแหน่งอ้างอิงและจุดที่ต้องการรังวัดค่าพิกัด เพื่อเก็บบันทึกค่าพิกัดตำแหน่งอ้างอิงในระบบพิกัดกริดแนวทิศเหนือ-ตะวันออก ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบค่าพิกัดตำแหน่งของจุดที่รังวัดกับค่าพิกัดที่ได้จากการสำรวจด้วยกล้องสถานีรวมจะให้ค่าผลต่างในทิศเหนือ-ตะวันออกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ10.89 ซม. และ 12.69 ซม. ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Jinsang H. Development of an RTK-GPS Positioning Application with an Improved Position Error Model for Smartphones. Sensors. 2012; 12, 12988-13001

[2] NavSpark Corp. A NS-HP User’s Guide. Hsinchu : Taiwan; 2016.

[3] Srinara S. Optimisation of GNSS Satellite Combination in Kinematic Positioning Mode with Aiding of genetic Algorithm [MEng Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2013. (In Thai).

[4] Takasu T. and Yasuda A. Evaluation of RTK-GPS Performance with Low-cost Single-frequency GPS Receivers. Proceedings of International Symposium on GPS/GNSS; 2008 Nov 11-14; Tokyo, Japan; 2008.

[5] Xu, G. GPS Theory: Algorithms and Applications. 2nd ed. Springer; 2007.