การประเมินการปลดปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้ฟางข้าวในที่โล่งแจ้ง

Main Article Content

วีรชัย อาจหาญ

บทคัดย่อ

เกษตรกรส่วนใหญ่จะเผากำจัดฟางข้าวในแปลงก่อนเริ่มดำเนินการปลูกในฤดูต่อไป ทำให้มีการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมในประมาณที่มหาศาล ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการปลดปล่อยมลพิษ (Emission Factors : EFs) จากการเผาไหม้เศษฟางข้าว โดยการทดสอบหาการปลดปล่อยมลพิษต่าง ๆ ได้แก่  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และฝุ่นละอองรวม (Total Particulate Matter : TPM) ในระดับห้องปฏิบัติการและนำผลที่ได้มาประเมินปริมาณการปลดปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้ฟางข้าวในพื้นที่การปลูกของประเทศ ผลการศึกษาพบว่า อัตราการปลดปล่อยมลพิษ (EFs) จากการเผาเศษฟางข้าว โดยมีช่วงการปลดปล่อย CO2 CO NOX SO2 และฝุ่นละอองรวม เท่ากับ 1,118  78.86 1.44  0.56  6.69 g/kgdm ตามลำดับ เมื่อนำอัตราการปลดปล่อยมลพิษเหล่านี้มาประเมินการปลดปล่อยมลพิษของประเทศ พบว่า ฟางข้าวมีอัตราการปลดปล่อยมลพิษ  246.35  17.37  0.31  0.12  147.35 แสนตัน/ปี ตามลำดับ ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประกอบในการกำหนดนโยบายควบคุมการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้งของฟางข้าวได้

Article Details

How to Cite
1.
อาจหาญ ว. การประเมินการปลดปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้ฟางข้าวในที่โล่งแจ้ง. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 1 มกราคม 2017 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];3(1):53-61. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/176550
บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์และการจัดการคุณภาพอากาศและเสียงปี 2553. สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2553.

[2] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2558; 2558.

[3] Cao G, Zhang X, Gong S, Zheng F. Investigation on emission factors of particulate matter and gaseous pollutants from crop residue burning. Journal of Environmental Sciences 2008; 20(1): 50–55.

[4] França DA, Longo KM, Neto TGS, Santos JC, Freitas SR, Rudorff BFT, Cortez EV, Anselmo E, Carvalho JA. Pre-Harvest Sugarcane Burning: Determination of Emission Factors through Laboratory Measurements. Atmosphere 2012; 3: 164-180.

[5] Jenkins BM, Turn SQ, Williams RB, Goronea, M, Abd-el-Fattah H. Atmospheric pollutant emission factors from open burning of agricultural and forest biomass by wind tunnel simulations. California: California State Air Resources Board; 1996.

[6] Seiler W, Crutzen PJ. Estimates of gross and net fluxes of carbon between the biosphere and the atmosphere from biomass burning. Climatic Change 1980; 2: 207-247.