การสกัดน้ำตาลจากหญ้าเนเปียร์โดยการไฮโดรไลซิสด้วยด่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
นอกจากหญ้าเนเปียร์จะใช้เป็นอาหารสัตว์แล้วหญ้าเนเปียร์ยังมีส่วนประกอบที่สามารถใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นนำไปใช้ในกระบวนการหมักเพื่อผลิตไบโอเอทานอลและการทำชีวมวลอัดเม็ดเพื่อเป็นพลังงานทดแทน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการสกัดน้ำตาลจากหญ้าเนเปียร์มาเพื่อนำน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ การสกัดน้ำตาลรีดิวซ์จากหญ้าเนเปียร์ในงานวิจัยนี้ จะใช้กระบวนการไฮโดรไลซิส ซึ่งเกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส และความดัน 1 บาร์ วัตถุดิบของกระบวนการคือ หญ้าเนเปียร์ตากแห้งที่บดแล้ว 3 ขนาด (60 80 100 เมส) และด่าง 2 ชนิด คือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ เวลาที่ใช้ในการไฮโดรไลซิสมีการวัดที่ 4 ช่วงเวลา คือ 60, 90, 120 และ 150 นาที จากนั้นนำน้ำตาลที่ได้ไปตรวจสอบด้วยวิธีการฟินอลซัลฟิวริก เพื่อวัดค่าความเข้มข้นด้วยเครื่องยูวีสเปคโตสโคปีและเปรียบเทียบค่าที่ได้กับโค้งของสารละลายน้ำตาลกลูโคสมาตรฐาน ผลการทดลองพบว่าสภาวะที่ได้ผลดีที่สุด คือหญ้าเนเปียร์ขนาด 100 เมส โดยด่างทั้งสองชนิดให้ค่าความเข้มข้นของน้ำตาลรีดิวซ์ใกล้เคียงกันที่ 18 กรัมต่อลิตรแต่ใช้เวลาไม่เท่ากัน โดยการสกัดด้วยสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ใช้เวลานานกว่าที่ 120 นาที ส่วนความเข้มข้นของน้ำตาลรีดิวซ์โดยใช้สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์เกิดขึ้นก่อน 60 นาที ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ประกอบด้วยหมู่ OH- ถึงสองตัว แต่ในสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์มี OH- เพียงตัวเดียว อย่างไรก็ตามในการทดลองไม่ได้มีการเก็บตัวอย่างก่อน 60 นาที จึงไม่สามารถระบุความเข้มข้นของน้ำตาลรีดิวซ์ที่เกิดจากไฮโดรไลซิสก่อน 60 นาที
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] Beguin, P. and Aubert, J.P., (1992b). La degradation de la ccllulosc par Ies microorganismcrs. Annales de I'lnstitut Pasteur/Aetualitcs. Vol. 3, pp. 9 1- l 15.
[3] Reilly, P.J. (1980). Xylanasc ; Structure and Funclion of Myothecium verrucaria for Fuel and Chemicals. Basic Life Scicnccs. Vol. 18, pp. 111-131.
[4] Laopaiboon, P., Thani, A., Leelavatcharamas, V., & Laopaiboon, L. (2010). Acid hydrolysis of sugarcane bagasse for lactic acid production. Bioresource Technology, 101(3), 1036-1043