การผลิตไบโอมีเทนจากกากมันสำปะหลัง โดยใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคในกระบวนการย่อยสลายขั้นต้น

Main Article Content

กงจักร ลมวิชัย

บทคัดย่อ

กากมันสำปะหลังเป็นวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าได้โดยการนำไปผลิตไบโอมีเทนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานได้ อย่างไรก็ตาม กากมันสำปะหลังจำเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายขั้นต้นก่อน โดยในงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาการเพิ่มศักยภาพการผลิตไบโอมีเทนจากกากมันสำปะหลังโดยใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคขนาด 160 W ในกระบวนการย่อยสลายขั้นต้น โดยจะศึกษาผลของความเข้มข้นของกากมันสำปะหลัง (0.5-4.0 % w/v) และเวลาในการให้คลื่นอัลตร้าโซนิค (10 - 30 min) ต่อลักษณะโครงสร้างทางกายภาพ องค์ประกอบทางเคมี และศักยภาพในการผลิตไบโอมีเทน ผลการศึกษาพบว่าคลื่นอัลตร้าโซนิคทำให้โครงสร้างของเส้นใยในกากมันสำปะหลังมีความพรุนและความโปร่งเพิ่มมากขึ้น และเมื่อนำไปทดสอบศักยภาพการผลิตไบโอมีเทนแล้วพบว่า สภาวะการทดลองที่ความเข้มข้นของกากมันสำปะหลังร้อยละ 2.25% w/v และเวลาการให้คลื่นอัลตร้าโซนิค 20 min จะให้ค่าผลผลิตมีเทนสูงสุดเท่ากับ 267.07±1.51 mLCH4/gVSadded และที่สภาวะความเข้มข้นของกากมันสำปะหลังร้อยละ 4.00% w/v และเวลาการให้คลื่นอัลตร้าโซนิค 20 min จะให้ค่าผลผลิตมีเทนต่ำสุดเท่ากับ 70.26 ±7.92 mLCH4/gVSadded

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2551). มันสำปะหลังทำเป็นฝอย : ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรายเดือน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.oae.go.th/statistic/export/ExCa1.xls.,เข้าดูเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558

[2] สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย (2550). มันสำปะหลัง, [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.tapiocathai.org/ttsa/aboutus/aboutus2.htm, เข้าดูเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558.

[3] Euis, H., Jun, i. A., Djumali, M., Titi, C. S., Ono,S., Bambang, P. (2011) . Hydrolysis of carbohydrates in cassava pulp and tapioca flour under microwave. Indo . J. Chem. 11: 238-245

[4] Siriporn, C., Yuka, M., Wonop, V., Kota, O., Gaku, H. L., Kazuhiko, I. (2012). Application of thermphilic enzymes and water jet system to cassava pulp. Bioresource Technology.126: 87-91

[5] Pandey, A., Soccol, C. R., Nigam, P., Soccol, V. T., Vanderbergehe, L. P. S., Mohan, R. (2000).Biotechnological potential of agro-industrial residue. II: cassava bagasse. Bioresource Technology. 100 : 1957–1962.

[6] Gunaseelan V.Nallathambi.2004.Biochemical methane potential of fruit and vegetable solids waste feedstock. Biomass and Bioenergy 26, no4 (April): 389-399

[7] Grethlein, H. E. (1985). The Effect of Pore Size Distribution on the Rate of Enzymatic Hydrolysis of Cellulosic Substrates. Nat Biotech, 3(2), 155-160.

[8] Ho, J. and Sung, S. 2010. Methanogenic activities in anaerobic membrane bioreactors (AnMBR) treating synthetic municipal wastewater. Biosource Technology 101, no.7(April):2191-2196.