การพัฒนาเครื่องสลัดน้ำล้างถั่วงอกด้วยการเป่าลมแบบสายพาน

Main Article Content

กวีพงษ์ หงส์ทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องสลัดน้ำล้างถั่วงอกด้วยการเป่าลมแบบสายพาน โดยเครื่องที่พัฒนาขึ้นนั้นมีโครงสร้างทำจากเหล็ก สายพานที่ใช้สร้างจากตะแกรงรูพีวีซี เหล็กคานสายพานทำจากสแตนเลสเชื่อมติดกับโซ่ สายพานมีขนาดหน้ากว้าง 1.0 ม. ยาว 6.0 ม. และสูง 1.2 ม. ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการขับสายพานและใช้พัดลมเป็นระบบลมเป่าติดตั้งอยู่บนฝาครอบสายพาน การทดสอบเครื่องได้กำหนดความเร็วสายพานเป็น 6 ระดับ คือ 3.68, 7.50, 10.90, 15.65, 18.95 และ 24.00 เมตร/นาที และกำหนดความเร็วลมในการทดสอบเป็น 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 เมตร/วินาที จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพของเครื่องมีค่าสูงสุดเท่ากับ 90 % ที่ความเร็วสายพาน 3.68 เมตร/นาที และความเร็วลมเป่า 10 เมตร/วินาที โดยความเร็วสายพานมีค่าต่ำและความเร็วลมเป่ามีค่ามากจะทำให้มีค่าประสิทธิภาพสูง สมรรถนะของเครื่องจะมีค่าเท่ากับ 736 กิโลกรัม/ชั่วโมง ที่ค่าประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องสูงที่สุด เมื่อคำนวณระยะเวลาคืนทุนสำหรับการซื้อเครื่องสลัดน้ำล้างถั่วงอกด้วยการเป่าลมแบบสายพานมาใช้ทดแทนแรงงานและการปั่นหมาดแบบเดิมเท่ากับ 3.3 เดือน ซึ่งสามารถลดแรงงานและลดต้นทุนการเพาะปลูกถั่วงอกเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการลงได้ในอนาคต สามารถใช้เป็นเครื่องต้นแบบในการเป่าแห้งพืชผลทางการเกษตรล้างน้ำได้อีกด้วย

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] อภิญญา สีดามน (2554). เทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและบริการ, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://sites.google.com, เข้าดูเมื่อวันที่ 25/09/2560.

[2] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12, หน้า 62 – 106.

[3] ศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ (2556). การประชุมหารือ เรื่องครัวไทยสู่ครัวโลก บูรณาการ 5 กระทรวง, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.most.go.th, เข้าดูเมื่อวันที่ 26/09/2560.

[4] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2560). ถั่วงอก, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org, เข้าดูเมื่อวันที่ 26/09/2560.

[5] ประโยชน์ดอทคอม (2556). ถั่วงอก (Mung Bean Sprouts), [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://prayod.com, เข้าดูเมื่อวันที่ 26/09/2560.

[6] พงศ์ศักดิ์ ชลธนสวัสดิ์, บพิตร ตั้งวงศ์กิจ, รัตนา ตั้งวงศ์กิจ และสุณัฏฐา อัฐฐิศิลป์เวท (2555). การศึกษาและออกแบบเครื่องคัดแยกเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วงอก, วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 43(3-พิเศษ),กันยายน-ธันวาคม 2555, หน้า 119 – 122.

[7] โรงงานผลิตถั่วงอก ตลิ่งชัน (2557). เทคโนโลยีกับการล้างและแพ็คถั่วงอก, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://talingchanbeansprouts.com, เข้าดูเมื่อวันที่ 26/09/2560.

[8] ระวิน สืบค้า (2556). เทคโนโลยีการลดความชื้น, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนคร เหนือ, 23(2), พ.ค. - ส.ค. 2556, หน้า 500 – 512.

[9] มานพ ตันตระบัณฑิตย์.(2540). การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 1.กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).