การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกกลีบกระเทียมด้วยแรงดันลมแบบหมุนเวียน

Main Article Content

อภิชาติ ศรีชาติ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการพัฒนาเครื่องปอกเปลือกกลีบกระเทียมโดยใช้แรงดันลมแบบหมุนเวียนมีลักษณะเป็นถังทรงกระบอกมีความสูง 30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม. ท่อลมทางเข้ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 ซม. และท่อลมพ่นกลีบทางออกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.8 ซม. การทดลองโดยกำหนดตัวแปรในการทดลอง 3 ตัวแปร คือ ความดันลม เวลาที่ใช้ทดลอง และปริมาณกระเทียมที่ใช้ในการทดลอง โดยความดันลม คือ 6, 7, 8 และ 9 bar เวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ 10, 20 และ 30 วินาที/รอบ และปริมาณน้ำหนักของกลีบกระเทียม คือ 200, 300 และ 400 กรัม/รอบ จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดของเครื่องปอกเปลือกกลีบกระเทียมโดยใช้แรงดันลมแบบหมุนเวียน คือ 98.11% ที่น้ำหนักกลีบกระเทียม 300 กรัม ความดันลม 8 bar และเวลาที่ใช้ในการทดลอง 30 วินาที และมีสมรรถนะการทำงานสามารถปอกเปลือกกลีบกระเทียมได้สูงสุด คือ 35.32 กิโลกรัม/ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นพบว่าเครื่องปอกกลีบเปลือกกระเทียมโดยใช้แรงดันลมแบบหมุนเวียนมีประสิทธิภาพในการปอกเปลือกกลีบกระเทียมสูงที่สุด โดยสามารถนำไปใช้ได้ในร้านอาหารที่มีการใช้กระเทียมเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารจำนวนมากต่อวันและสามารถพัฒนาโดยติดตั้งอุปกรณ์กรองอากาศเพื่อให้ได้อากาศหรือลมบริสุทธิ์ที่ใช้จริงในการปอกเปลือกกลีบกระเทียมเพื่อบริโภค ต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
ศรีชาติ อ. การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกกลีบกระเทียมด้วยแรงดันลมแบบหมุนเวียน. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 1 มกราคม 2018 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];4(1):1-8. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/177044
บท
บทความวิจัย

References

[1] มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (2550). กระเทียม, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.eto.ku.ac.th, เข้าดูเมื่อวันที่ 24/08/2560.

[2] พีรวัตร ลือสัก และ สุรินทร์ สมประเสริฐ (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง การออกแบบและพัฒนาเครื่องกะเทาะกระเทียม, หน้า 1 – 3.

[3] อภิชาต จิรัฐติยางกูรและสุวัฒน์ ตัณฑ์ศรี (2545). การออกแบบและสร้างเครื่องจักรแปลรูปกระเทียมครบวงจร. วิศวกรรมสาร มก. 46:117-124.

[4] สุวัฒน์ ตัณฑ์ศิริ (2547). การพัฒนาเครื่องแยกกลีบกระเทียม.[ระบบออนไลน์],แหล่งที่มา http://www.mua.go.th, เข้าดูเมื่อวันที่ 24/08/2560.

[5] วรศิษย์ อุชัย (2558). การพัฒนาเครื่องแกะกลีบกระเทียมขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร.[ระบบออนไลน์],แหล่งที่มา http://www.mua.go.th, เข้าดูเมื่อวันที่ 24/08/2560.

[6] กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล (2548). การออกแบบและพัฒนาเครื่องปอกกลีบกระเทียมขนาดเล็ก, วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 102 หน้า.

[7] วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย (2559). เครื่องปอกกระเทียมด้วยแรงลม, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.thaiinvention.net, เข้าดูเมื่อวันที่ 25/08/2560.