การออกแบบและพัฒนาเครื่องอบแห้งโดยใช้อากาศร้อนแบบถาดหมุน เพื่อใช้ในการผลิตอาหารแห้งเชิงพาณิชย์

Main Article Content

วิรุณ โมนะตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างตู้อบลมร้อนแบบถาดหมุนต้นแบบเพื่อใช้ในการอบแห้งและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแห้งในเชิงพาณิชย์ วัตถุประสงค์ของการออกแบบคือ ตัวเครื่องทำด้วยสแตนเลสทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งใช้อุปกรณ์สแตนเลสในการวางผลิตภัณฑ์เพื่อนำเข้าเครื่องอบ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน GMP การทำงานให้ความร้อนด้วยระบบไฟฟ้าและควบคุมอุณหภูมิด้วยชุดควบคุมอุณหภูมิระบบดิจิตอล มีระบบไหลเวียนลมร้อนและปล่อยความชื้น มีชุดถาดแขวนแบบลอยตัวและหมุนได้ด้วยกำลังขับมอเตอร์เกียร์ไฟฟ้าทดรอบ ผลการทดสอบสามารถอบแห้งผลิตภัณฑ์วัตถุดิบได้มาตรฐานการทำแห้งด้วยลมร้อนและมีประสิทธิภาพในการทำเวลาอบแห้งดีกว่าตู้อบลมร้อนแบบถาดทั่วไปโดยเฉลี่ย 25.6% และอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 17.5 บาท ต่อชั่วโมง ซึ่งประหยัดกว่าเตาอบลมร้อนแบบถาดทั่วไปอยู่ที่ 10.57% เมื่อเทียบกับปริมาณการอบแห้งที่เท่ากัน  โดยสามารถพัฒนากำลังการผลิตตู้อบลมร้อนแบบถาดหมุนให้เป็นอุตสาหกรรมการผลิตจำนวนมาก ตอบสนองการพัฒนาผลิตภัณฑ์อบแห้งของแต่ละชุมชน เป็นการเพิ่มศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้มีคุณภาพและมาตรฐาน นำไปสู่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2560 และแนวโน้มปี 2561 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ; กระทรวงพาณิชย์

[2] วิไล รังสาดทอง. (2547). เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[3] สุคนธ์ชื่น ศรีงาม. (2539). กระบวนการทำแห้งอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ,หน้า 164-17

[4] Van den Berg, C. (1986) Water activity. In : D. MacCarthy (ed.), Concentration and drying of foods. Elsevier Applied Science, Barking, Essex, pp.11-36

[5] Banwart, G.T. (1983) “Basic food microbiology. AVI Publishing Co., Inc. Westport, Connecticut. ; 519 p.

[6] วิวัฒน์ ตัณฑะพาณิชกุล. (2548) เทคโนโลยีอบแห้งในอุตสาหกรรมอาหาร, สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สมาคมส่งเสริม (ไทย – ญี่ปุ่น), 183 หน้า.

[7] ปราโมทย์ เตชะอำไพ. (2552). การประยุกต์ใช้ไฟไนต์เอลิเมนต์ด้วย Solidwork Simulation. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

[8] กีรติ สุลักษณ์ (2558) การจำลองพฤติกรรมการไหลเพื่อออกแบบช่องทางเข้าของอากาศสาหรับหัวดูดอากาศที่ใช้ในกระบวนการชุบโลหะ การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 29 (ME-NETT) 1-3 กรกฎาคม 2558 จ.นครราชสีมา

[9] Y. A. Çengel and A. J. Ghajar, Heat and Mass Transfer, United States of America: McGraw-Hill Education, 2015

[10] "3D Heat Transfer Simulation & Thermal Analysis Software," ARRK Corporation, [Online]. Available: http://www.theseus-fe.com/simulation-software/heat-transfer-analysis