การประยุกต์ใช้ฟองขนาดไมครอนเพื่อกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในแก๊สชีวภาพ

Main Article Content

ชยุต นันทดุสิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสามารถในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากแก๊สชีวภาพโดยวิธีการดูดซึมด้วยน้ำ (water scrubber) ในการทดลองใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ผสมกับอากาศป้อนผ่านหัวฉีดสร้างฟองขนาดไมครอนแบบหมุนควง (swirl flow type) และให้ฟองแก๊สขนาดเล็กไหลผ่านน้ำในคอลัมน์เพื่อให้คาร์บอนไดออกไซด์ในฟองแก๊สละลายในน้ำ โดยการทดลองจะศึกษาที่เงื่อนไขความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 30% 40% และ 50% กำหนดอัตราการป้อนแก๊สผ่านหัวฉีดที่ 0.1 ลิตร/นาที และเปลี่ยนอัตราการไหลน้ำที่ป้อนสู่หัวฉีดที่ 10, 15, 20, 25, 30 และ 35 ลิตร/นาที จากผลการทดลองพบว่า การเพิ่มอัตราการไหลน้ำมีผลให้ความเร็วน้ำในการตัดเฉือนฟองแก๊สเพิ่มสูงขึ้นทำให้ฟองแก๊สมีขนาดเล็กลง โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของฟองแก๊สที่สร้างได้อยู่ในช่วง 50.44-116.04 µm และความสามารถในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากการผสมคาร์บอนไดออกไซด์กับอากาศมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 92.46% ในขณะที่อัตราการไหลน้ำมีผลต่อการล้างคาร์บอนไดออกไซด์เล็กน้อย

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

[1] คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต การควบคุคุณภาพ และการใช้แก๊สชีวภาพ (Biogas) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม. กรมโรงงานอุตสาหกรรม: กรุงเทพ; 2553.

[2] ปภัส ชนะโรค.การพัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพแก๊สชีวภาพสำหรับใช้ในยานพาหนะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2554.

[3] การประหยัดพลังงานในอุปกรณ์ที่ใช้งานแก๊สชีวภาพในโรงงานอุตสาหกรรม. (สื่อออนไลน์) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.asewex
po.com/Portals/seminar/Presentation/6%20JuneEnergy%20Saving-Biogas%20Surachai

[4] Angelidaki I, et al. Biogas upgrading and utilization: Current status and perspectives. ScienceDirect. 2018; 36(2): 452-466.วิกฤต. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 2553; 18 (3): 20-6.

[5] Rongwong W, et al. Simultaneous absorption of CO2 and H2S from biogas by capillary membrane contactor. ScienceDirect. 2012; 392-393(1): 38-47.

[6] Xiao Y, et al. CO2 removal from biogas by water washing system. ScienceDirect. 2004; 22(8): 950-953.