การพัฒนาเครื่องผสมอาหารสัตว์แนวนอนด้วยใบกวน 2 ชั้น

Main Article Content

Dr. Aphichat Srichat

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องผสมอาหารสัตว์แนวนอนใบกวน 2 ชั้น โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง ขนาด 2 แรงม้า ถังผสมขนาด 350 ลิตร ชุดเกลียวผสม เกลียววงนอกจะเป็นเกลียวทางขวาและซ้าย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 680 mm. มีระยะพิตช์ 195 mm. ส่วนเกลียวผสมวงในจะเป็นเกลียวทางขวาและซ้าย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 480 mm. มีระยะพิตช์ 195 mm. ทำการทดสอบความสามารถในการผสมของแกลบปริมาตร 0.2 m3 กับเม็ดลูกปัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  5 mm จำนวน 5,000 เม็ด เทผสมลงในแกลบที่มีค่าความชื้น 22.11% เก็บตัวอย่างวัสดุ ที่เวลา 30, 60, 90, 120, 150, 180, 210, 240, 270, 300, 330 และ 360 วินาที โดยเปลี่ยนความเร็วรอบของใบกวน 3 ระดับ คือ 6, 12 และ 18 rpm พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การกระจายที่ดีคือความเร็วรอบ 18 rpm. ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายคือ 28.6% ที่เวลา 210 วินาที  สมรรถนะการทำงานที่ดีที่สุด คือ 0.343 m3/hr (343 ลิตร/ชั่วโมง) ระยะเวลาคืนทุนสำหรับการซื้อเครื่องผสมอาหารสัตว์มาใช้ทดแทนแรงงานแบบเดิมเท่ากับ 0.99 เดือน

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย
Author Biography

Dr. Aphichat Srichat, Department of Mechanical Engineering, Faculty of Technology, Udonthani Rajabhat University, 234 Moo 12 SamPraow Muang Udonthani 41000

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ  ศรีชาติ

หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สถานที่ทำงาน

สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี (สามพร้าว) 123 หมู่ 12 ต.สามพร้าว อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000

โทรศัพท์ :  042-211040 – 59 ต่อ  3641  โทรศัพท์ (มือถือ) :  087-2186214

Email:  saphichat@udru.ac.th

Facebook : https://www.facebook.com/Aphichat Srichat

ID Line : Saphichat

เลขที่ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม : ภฟก. (ภาคี ไฟฟ้ากำลัง) 49182

เลขที่ผู้ประเมินตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน : อบ. 134 00011

เลขที่ผู้ประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม (I3C) : 59W41

ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการ เลขที่ อพช.1-61-056

ผู้ตรวจสอบรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน เลขที่ ผบอ./สกอ. รุ่นที่ 10/2561 (323)

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2548       ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

พ.ศ. 2551       ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

พ.ศ. 2560       ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

 

References

[1] ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย ปี 2560. (สื่อออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://niah.dld.go.th/th/index.phpoption=com_content&view=article&id=10171:thailandlivestock2017&catid=24:book&Itemid=300.

[2] เรื่องอาหารสำเร็จรูปและ ผสมเอง อย่างไหนตอบโจทย์ชาวปศุสัตว์. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pasusart.com.

[3] ปริมาณอาหารสัตว์และการใช้วัตถุดิบ ปี 2560. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaifeedmill.com.

[4] เศรษฐกิจพอเพียง (2556), อาหารและการให้อาหารสัตว์. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://leesaemoa.wordpress.com.

[5] กฤติยา จันทร์ศิริ. การออกแบบและสร้างเครื่องผสมอาหารสัตว์. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา; 2554.

[6] สุวรรณ หอมหวล และวัชมา โพธิ์ทอง. การออกแบบและพัฒนาเครื่องผลิตอาหารทีเอ็มอาร์ สําหรับฟาร์มโคนมขนาดเล็ก. วิทยาสารกําแพงแสน. 2554 ;9(1): 13 - 26.

[7] กฤษณชัย สูงแข็ง, ธีรพงศ์ คําภีระ และถิรพันธ์ ปิ่นวิเศษ. การพัฒนาเครื่องผสมอาหารสัตว์และปุ๋ย. [โครงงานนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา]. สระบุรี: วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี; 2557.

[8] เครื่องผสมอาหารแนวนอน (Horizontal Mixer or Ribbon Mixer). (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.uniquetools.co.th.

[9] ปิยวัฒน์ ศรีธรรม, วิทยา อิ่มสำราญ, พิทักษ์ บุญไทย และสุภา สีสนมาก. เครื่องผสมพร้อมกับอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ. 2559; 2(2): 87 – 96.