ปริมาณ ลักษณะและแนวทางในการจัดการน้ำเสียของโรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปริมาณ ลักษณะของน้ำเสียโรงอาหารกลางของมหาวิทยาลัย ราชภัฏศรีสะเกษ (มรภ.ศรีสะเกษ) และศึกษาแนวทางการจัดการน้ำเสียสำหรับโรงอาหารกลาง มรภ.ศรีสะเกษ วิธีการศึกษาในงานวิจัยนี้คือศึกษาปริมาณน้ำเสียและลักษณะของน้ำเสียโรงอาหาร โดยติดตามปริมาณน้ำเสีย และเก็บตัวอย่างน้ำเสียก่อนและหลังผ่านระบบถังดักไขมัน เพื่อวิเคราะห์ลักษณะน้ำเสียทางกายภาพและทางเคมี พร้อมทั้งศึกษาคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร จาการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำเสียเฉลี่ยเท่ากับ 10.9±2.01 ลบ.ม./วัน และวันพุธมีปริมาณน้ำเสียสูงสุด (15.0±3.21 ลบ.ม./วัน) เกิดจากมีจำนวนผู้ใช้บริการจำนวนมาก การติดตามลักษณะน้ำเสียพบว่า น้ำเสียโรงอาหารมีค่าเกินมาตรฐาน คือ ค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total dissolved solids; TDS) ค่าของแข็งจมตัว (Settleable solid) ค่าของแข็งแขวนลอย (Suspended solids; SS) ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (Biochemical oxygen demand; BOD) และ น้ำมันและไขมัน (Fat, oil and grease) เนื่องจากโรงอาหารยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย แต่มีระบบถังดักไขมันบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นทำให้น้ำเสียยังไม่ผ่านการบำบัด นอกจากนี้พบค่า N P และK เพียงพอต่อการทำเป็นปุ๋ยน้ำ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเสนอแนวทางการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับน้ำเสียโรงอาหารกลางมรภ. ศรีสะเกษ 3 วิธีคือ 1) นำน้ำเสียไปใช้เป็นปุ๋ยชนิดน้ำ 2) พัฒนาระบบถังดักไขมันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 3) เพิ่มระบบบำบัดน้ำเสียขั้นที่สอง ซึ่งแนวทางดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียในโรงอาหารของหน่วยงานที่มีลักษณะน้ำเสียคล้ายกันได้ แต่อย่างไรก็ตามก่อนการประยุกต์แนวทางในการใช้งานจริง ควรศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำเสียเป็นปุ๋ย การพัฒนาระบบถังดักไขมัน และการทดสอบประสิทธิภาพระบบเอสบีอาร์ เพื่อทราบถึงวิธีการหรือปริมาณ ในการประยุกต์ใช้จริงต่อไปในอนาคต
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
Chen X, Chen G, Yue PL. Separation of Pollutants from Restaurant Wastewater by Electrocoagulation. Separation and Purification Technology. 2000; 19: 65-76.
Astuti AD, Rinanti A, Viera AAF. Canteen Wastewater and Gray Water Treatment Using Subsurface Constructed Wetland-Multilayer Filtration Vertical Flow Type with Melati Air (Echindorus paleafolius) at Senior High School. Aceh International Journal of Science and Technology. 2017; 6(3): 111-121.
American Public Health Association (APHA), American Water Work Association (AWWA), The World Economic Forum (WEF). Standard Methods for The Examination of Water and Wastewater. 21st ed. Washington DC.: (n.p.); 2005.
Brandenberger LP, Bowser TJ, Zhang H, Carrier LK, Payton ME. Evaluation of Testing Kits for Routine Soil Analyses. Discourse Journal of Agriculture and Food Sciences. 2016; 4(1): 1-10.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2548.
Usha C, Umadevi B, Balasubramanya N, editors. Treatment of Canteen Waste Water Using Up-Flow Anaerobic Sludge Blanket Reactor. Proceedings of International Conference on Advances in Architecture and Civil Engineering; 2012 June 21-23; Bangalore, Karnataka, India; 2012.
กมลนาวิน อินทนูจิตร และคณะ. โครงการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบ่อดักไขมันบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนล่าง. (รายงานการวิจัย). สงขลา; มหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา; 2558.
Grosser A. The Influence of Decreased Hydraulic Retention Time on The Performance and Stability of Co-digestion of Sewage Sludge with Grease Trap Sludge and Organic Fraction of Municipal Waste. Journal of Environmental Management 2017; 203: 1143-1157.
Rongjun S. Study on Treatment of Canteen Wastewater Using Rotating Biological Contactor. Advanced Materials Research 2010; 113-116: 1597-1600.
ศิริพร กาทอง และเฉลิม เรืองวิริยะชัย. การหาปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. วารสารวิจัย มข. 2557; 14 (4): 57-68.