เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ด้วยการใช้แอปพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนด้วยระบบฟัซซีลอจิก Increase Efficiency Organized and Management Laying Hens Farms by Android Operating System Application and Control Environment in The House by Fuzzy Logic System
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระการทำงาน และต้องมีความแม่นยำสูงในการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ และควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนไก่ไข่ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่ไข่แบบโรงเรือนเปิดในทุกช่วงฤดูในประเทศไทย ดังนั้นในการดำเนินโครงการวิจัยคณะผู้วิจัยจึงได้แยกระบบงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแอปพลิเคชั่นทำหน้าที่บริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ ประกอบด้วยส่วนบันทึกการออกไข่และการปลดไก่ไข่ด้วยการอ่านรหัสคิวอาร์โค้ดที่ติดแต่ละกรงไก่ไข่ เพื่อให้การเก็บข้อมูลมีความแม่นยำสูงเมื่อเทียบกับระบบงานฟาร์มเดิมที่ใช้การบันทึกข้อมูลในรูปแบบกระดาษ ส่วนบันทึกรายรับ-รายจ่ายในช่วงระหว่างการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่ไข่ การทำงานในส่วนแอพพลิเคชั่นบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ทำงานภายในเครื่องสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพียงเครื่องเดียวทำให้เจ้าของฟาร์มไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายสำหรับจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้การพัฒนาอยู่ในรูปแบบใช้งานได้ทุกที่ทางทีมวิจัยพัฒนาได้เตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายสำหรับข้อมูลฟาร์มไก่ไข่ในรูปแบบฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานแอปพลิเคชั่นสามารถส่งข้อมูลการดำเนินกิจการของฟาร์มไปเก็บที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพื่อที่จะใช้งานข้อมูลวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มได้ทุกที่ และเป็นเป็นระบบสำรองเพื่อใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบการดำเนินกิจการฟาร์มไก่ไข่ที่ผ่านมา อีกส่วนของการทำวิจัยคือส่วนฮาร์ดแวร์ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนไก่ไข่ ใช้ระบบฟัซซีลอจิกเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าอุณหภูมิภายนอก ภายในโรงเรือน ค่าความชื้นสัมพัทธ์ภายนอก ภายในโรงเรือน และค่าความแสงสว่างภายนอก ภายในโรงเรือนให้มีความแม่นยำสูงในการควบคุมการทำงานพัดลม ปั๊มสเปรย์น้ำบนหลัง และระบบแสงสว่างให้มีความแม่ยำสูงในการเลี้ยงไก่ไข่ในแต่ทุกฤดูกาลของประเทศไทย การส่งข้อมูลเพื่อควบคุมการทำงาน และรายงานข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนไก่ไข่ระหว่างฮาร์ดแวร์ควบคุมสภาพแวดล้อมกับแอพพลิเคชั่นสื่อสารผ่านระบบบลูทูธ หรือระบบ IoT
จากผลการการนำงานวิจัยทั้งสองส่วนไปใช้งานในฟาร์มเกษตรที่เลี้ยงไก่ไข่จำนวน 500 ตัว สามารถลดเวลาในบันทึกการออกไข่ได้ประมาณ 5 เท่าจากการทำงานเดิมที่ใช้กระดาษในการบันทึกข้อมูลการออกไข่ในช่วงเวลาไก่ออกไข่มากกว่า 60% ของจำนวนไก่ทั้งหมด และสามารถลดเวลาในบันทึกการออกไข่ได้ประมาณ 2 จากการทำงานแบบเดินในกรณีปริมาณการออกไข่น้อยกว่า 60% และการบริหารจัดการฟาร์มด้วยวิเคราะห์ข้อมูลระบบแอปพลิเคชั่นสามารถค้นหาและสรุปข้อมูลได้ทันที่ต้องการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ ซึ่งการทำงานแบบเก่าต้องค้นหากระดาษและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนด้วยระบบฟัซซีลอจิกสามารถปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนไก่ไข่ให้มีอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ และความสว่างได้เหมาะสมกับเลี้ยงไก่ไข่
Article Details
วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ (FEAT Journal) มีกําหนดออกเป็นราย 6 เดือน คือ มกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม ของทุกปี จัดพิมพ์โดยกลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทั้งยังจัดส่ง เผยแพร่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศด้วย บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร FEAT ทุกบทความนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและสงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2535
References
[2] กรมส่งเสริมการเกษตร, คู่มือปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรการจัดการฟาร์ม. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด: กรุงเทพฯ; 2556.
[3] Jagodi D, Vujii D, Rani S. Android system for identification of objects based on QR code. Proceedings of the 23rd Telecommunications Forum Telfor (TELFOR); 2015 Nov 24-26; Belgrade, Serbia. IEEE; 2016.
[4] วิษณุ ช้างเนียม. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมพื้นที่ปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพยากรณ์การเติบโตและความหวาน. วิศวสารลาดกระบัง. 2560; 34(1): 25 – 32.