การทำฟาร์มจิ้งหรีดอัจฉริยะโดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

Kiattisin Kanjanawanishkul
Jumphon Kaewsihawong
Wuttiya Uttaracha
Suphan Yangyuen

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันถึงแม้ว่าการเลี้ยงจิ้งหรีดได้รับความนิยมที่เพิ่มขึ้น แต่ปัญหาหลักในการเลี้ยงจิ้งหรีด คือเกษตรกรต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้น้ำและให้อาหาร ดังนั้น งานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ คือ การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อช่วยในการเลี้ยงจิ้งหรีด โดยมีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ ระบบการให้อาหาร ระบบการให้น้ำ และ ระบบควบคุมผ่านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ระบบการให้อาหารถูกออกแบบมาเพื่อการให้อาหารที่กระจายอย่างเหมาะสมโดยจะใส่อาหารในท่อพีวีซีและเจาะรูเป็นแนวยาว เมื่อท่อพีวีซีถูกเหวี่ยงหมุน อาหารจะตกลงในรางรองอาหารที่อยู่ด้านล่าง ระบบการให้น้ำถูกออกแบบมาให้เติมน้ำอัตโนมัติเมื่อระดับน้ำต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ระบบควบคุมผ่านแอปพลิเคชันประกอบด้วยคำสั่งการให้อาหาร และแสดงค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ นอกจากนี้ ยังสามารถสั่งให้ถ่ายภาพ เพื่อแสดงผลผ่านแอปพลิเคชัน Line ได้อีกด้วย ในการทดลอง ได้ทำการเลี้ยงจิ้งหรีดจำนวน 600 ตัว ด้วยวิธีเดิมและ 600 ตัว ด้วยวิธีที่นำเสนอ ผลการทดลอง พบว่าความเร็วที่เหมาะสมสำหรับการหมุนท่อพีวีซี คือ 71.5 รอบต่อนาที และเมื่อนำจิ้งหรีดมาเลี้ยงครบ 30 วัน พบว่าจำนวนจิ้งหรีดที่รอดชีวิตด้วยวิธีเดิมและด้วยวิธีที่นำเสนอ คือ 450 ตัว และ 530 ตัว ตามลำดับ น้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวที่ได้จากการเลี้ยงด้วยวิธีเดิมและด้วยวิธีที่นำเสนอ คือ 0.65 +/- 0.18 กรัม และ 0.71 +/- 0.15 กรัม ตามลำดับ ดังนั้น วิธีที่นำเสนอนี้ จะช่วยเพิ่มจำนวนจิ้งหรีดที่รอดชีวิตและเพิ่มน้ำหนัก อีกทั้งยังช่วยลดความต้องการการใช้แรงงานในการเลี้ยงจิ้งหรีดได้

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

Williams JP, Williams JR, Chester D, Peterson M. Nutrient content and health benefits of insects. In: Dossey A, Morales-Ramos J, Rojas M, editors. Insects as Sustainable Food Ingredients: Production, Processing and Food Applications. Academic Press: London; 2016. p. 61-84.

การเลี้ยงจิ้งหรีด (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://esan108.com/การเลี้ยงจิ้งหรีด.

ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, การเกษตรอัจฉริยะ(สื่อออนไลน์) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/ pub/2020/20200313-smart-farming.pdf.

Muangprathuba J, Boonnama N, Kajornkasirata S, Lekbangponga N, Wanichsombata A, Nillaor P. IoT and agriculture data analysis for smart farm. Computers and Electronics in Agriculture. 2019; 156: 467–74.

Kim S, Lee M, Shin C. IoT-based strawberry disease prediction system for smart farming. Sensors 2018; 18(11): 1-17.

Jaiganesh S, Gunaseelan K, Ellappan V. IOT agriculture to improve food and farming technology. Proceedings of the 2017 Conference on Emerging Devices and Smart Systems (ICEDSS). 2017 Mar 3-4; Tiruchengode, India.

ชาญวิช สุวรรณพงศ์ และ วีรธรรม ไชยยงค์. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อติดตามและระบุตำแหน่งโคเนื้อในภาคปศุสัตว์. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและการควบคุมอัตโนมัติ 2558; 1(1): 15-21.

วิษณุ ช้างเนียม และ วริษา สินทวีวรกุล. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ด้วยการใช้แอปพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนด้วยระบบฟัซซีลอจิก. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและการควบคุมอัตโนมัติ 2562; 5(2): 77-88.

Kontogiannis S. An Internet of things-based low-power integrated beekeeping safety and conditions monitoring system. Inventions. 2019; 4(3): 52.

จิ้งหรีด (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/จิ้งหรีด.

ชญานิศ กันจินะ, สุจินต์ สิมารักษ์, สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ และสุกัลยา เชิญขวัญ. ระบบการเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการค้าของเกษตรกรในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 2562; 47(ฉบับพิเศษ 1): 225 – 32.

กลุ่มส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการเกษตร. เทคนิคการเลี้ยงและการจัดการเลี้ยงจิ้งหรีด. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.agriman.doae.go.th/homebee0/cricket1.html.

ยุพา หาญบุญทรง, ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นพชนม์ ทับทิม และ ลำใย อิทธิจันทร์. คู่มือการเพาะเลี้ยงแมลงที่เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ในฟาร์มที่ได้มาตรฐาน. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.): กรุงเทพฯ; 2561.