การปรับปรุงสมบัติความเป็นเชื้อเพลิงของชานอ้อย ใบอ้อย และเศษไม้ยูคาลิปตัส ด้วยกระบวนการทอริแฟกชั่นขั้นต้น

Main Article Content

Narongrit Sailoon
Varinrumpai Seithtanabutara

บทคัดย่อ

กระบวนการทอริแฟกชั่นชีวมวลได้ถูกออกแบบการทดลองและมีการวิเคราะห์ทางสถิติร่วมกับการวิเคราะห์การตอบสนองเชิงพื้นผิว ตัวแปรอิสระ ได้แก่ อุณหภูมิ (250-300 องศาเซลเซียส) และเวลา (30-60 นาที) ตัวแปรตอบสนอง ได้แก่ ค่าความร้อน  ร้อยละการสูญเสียน้ำหนักของเชื้อเพลิง และร้อยละผลได้พลังงาน จากการศึกษาพบว่า ชีวมวลทอร์ริไฟด์จะมีค่าความร้อนสูงขึ้น  ค่าร้อยละการสูญเสียโดยน้ำหนักของชีวมวลเพิ่มขึ้น และค่าร้อยละผลได้ของพลังงานจากกระบวนการจะลดลงตามสภาวะความรุนแรงของกระบวนการ ทั้งนี้ชีวมวลทอร์ริไฟด์จะมีสัดส่วนเชิงโมลของไฮโดรเจนต่อคาร์บอน และออกซิเจนต่อคาร์บอน ที่ต่ำกว่าชีวมวลดิบ และมีเสถียรภาพทางความร้อนที่มากขึ้น มีสมบัติความเป็นเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น จากผลการวิเคราะห์ค่าการแปรปรวนทางสถิติและการตอบสนองเชิงพื้นผิว จะทำให้ได้สภาวะการทอร์ริแฟคชั่นที่เหมาะสมสำหรับชีวมวลชานอ้อย กากใบอ้อย และ เศษไม้ยูคาลิปตัส โดยชีวมวลทอร์ริไฟด์ที่ผลิตได้จากสภาวะที่เหมาะสมนี้จะถูกนำมาอัดเม็ดโดยใช้แป้งเปียกเป็นตัวประสานในปริมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ จะได้ชีวมวลทอร์ริไฟด์อัดเม็ดที่มีสมบัติตรงกับเกรดมาตรฐานโดยทั่วไปของประเทศไทย มีสัดส่วนมิติความยาวต่อเส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ย 3.22 ถึง 3.88 ความหนาแน่น มีค่า 0.34 ถึง 0.27 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และค่าความหนาแน่นเชิงพลังงานมีค่า 8,927.10  ถึง 25,071.74 เมกกะจูลต่อลูกบากศ์เมตร มีค่าความแข็งแรง 41.20 ถึง 73.03 นิวตัน คุณสมบัติการเผาไหม้ของเม็ดเชื้อเพลิงใบอ้อยมีประสิทธิภาพสูงสุดรองลงมาคือ ชานอ้อยและเศษไม้ยูคาลิปตัส

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

Van der Stelt MJ, et al. Biomass Upgrading by Torrefaction for the Production of Biofuels: A Review. Biomass and Bioenergy. 2011; 35(9): 3748-62.

Kim H, et al. Biomass Briquette as a Technology for Desulphurizing and Energy Saving. Renewable Energy Journal. 2001; 8: 33-75.

Wilson L, et al. Thermal Characterization of Tropical Biomass Feedstocks. Energy Conversion and Management. 2011; 52(1): 191-8.

Bilgic E, et al. Limits of Variations on the Structure and the Fuel Characteristics of Sunflower Seed Shell Through Torrefaction. Fuel Processing Technology. 2016; 144: 197-202.

Reza MT, et al. Engineered Pellets from Dry Torrefied and HTC Biochar Blends. Biomass and Bioenergy. 2014; 63: 229-38.

Chrastina J, et al. Determination of Mechanical Properties of Poppy Waste Pellets. Agronomy Research. 2017; 15(5): 1906–17.

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. รายงานฉบับสุดท้าย โครงการศึกษากําหนดมาตรฐานของ Biomass Pellet เพื่อพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลสําหรับอนาคต. กรุงเทพฯ: สํานักวิจัยค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน; 2555.