ผลของอุณหภูมิชุดควบแน่นจากการไพโรไลซิสน้ำมันหมู

Main Article Content

จาริตร ปูอินต๊ะ
ฉัตรชัย เบญจปิยะพร
จุฬาภรณ์ เบญจปิยะพร
ณัฐดนย์ พรรณุเจริญวงษ์
เกยูร ดวงอุปมา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาผลของอุณภูมิชุดควบแน่นจากการไพโรไลซีสน้ำมันหมู โดยมีเงื่อนไขการทดลอง คือ อุณหภูมิไพโรไลซีส 500 °C ระยะเวลา 3 ชั่วโมง และอุณหภูมิชุดควบแน่นสอง -10 °C ซึ่งปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของชุดควบแน่นแรก 5 ระดับ คือ 40, 50, 60, 70 และ 80 °C  เพื่อศึกษาปริมาณและสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิง ผลการศึกษา พบว่า อุณภูมิชุดควบแน่น 60 °C  ให้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหนักสูงสุดร้อยละ 41 โดยน้ำหนัก ขณะที่อุณหภูมชุดควบแน่น 80 °C  ให้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเบาสูงสุดร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก ผลวิเคราะห์สมบัติน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า อุณหภูมิชุดควบแน่นที่แตกต่างกันทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีสมบัติที่แตกต่างกัน โดยน้ำมันเชื้อเพลิงหนักมีความหนาแน่น 927 kg/m3 ความหนืด 8.69 cSt ค่าความร้อนสูง 39 MJ/kg และติดไฟได้ที่อุณหภูมิ 31.37 °C  ขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงเบามีความหนาแน่น 696.67 kg/m3 ความหนืด 1.67 cSt และค่าความร้อน 40 MJ/kg. ซึ่งผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า น้ำมันเชื้อเพลิงหนักมีองค์ประกอบทางเคมีของสารในกลุ่มที่เป็นกรดเป็นองค์ประกอบหลัก ขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงเบามีองค์ประกอบทางเคมีของสารในกลุ่มน้ำมันเบนซินเป็นองค์ประกอบหลัก

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

Ram Mohan M. and et al. Swietenia mahagoni seed oil: A new source for biodiesel production. Industrial Crops and Products. 2016; 90: 28-31.

Neha M, Pushpa K, Indu S, Thakur and Shaili S. Biological fixation of carbon dioxide and biodiesel production using microalgae isolated from sewage waste water. India Environmental Science and Pollution Research. 2020; 27: 27319–29.

Caetano NS, Silva VFM and Matab TM. Valorization of Coffee Grounds for Biodiesel Production. Chemical Engineering Transactions. 2012; 26: 267-72.

Syamsiro M, Saptoadi H, Norsujianto T, et al. Fuel Oil Production from Municipal Plastic Wastes in Sequential Pyrolysis and Catalytic Reforming Reactors. Energy Procedia. 2014; 47: 180-8.

Kusenberg M, Eschenbacher A, et al. Opportunities and challenges for the application of post-consumer plastic waste pyrolysis oils as steam cracker feedstocks: To decontaminate or not to decontaminate? Waste Manag. 2022; 138: 83-115.

Yin C. Microwave-assisted pyrolysis of biomass for liquid biofuels production. BioresourceTechnology. 2012; 120(0): 273-84.

Mante OD, Agblevor FA, McClung R. Fluid catalytic cracking of biomass pyrolysis vapors. Biomass Conversion and Biorefinery. 2011; 1(4): 189-201.

Weitkamp J. Zeolites and catalysis. Solid State Ionics. 2000; 131(1–2): 175-88.

Duanguppama K, Kraisoda P, Turakarn C, Chaiphet K, Somsi S, Sasen C, et al. Effect of Lard Extraction Temperature on Fuel Yield and Properties. Research Administration Network Conference. 2021; 14: 192-203.

Puinta C, Benjapiyaporn C, Benjapiyaporn J, Pannucharoenwong N, Duanguppama K, Echaroj S and Rattanadecho P. Biofuel production from pork fat. The 12th TSME International Conference on Mechanical Engineering, 2022 December 13-16; Phuket, Thailand; 2022.