เครื่องคว้านเมล็ดเงาะระบบนิวแมติกส์

Main Article Content

ร้อยทิศ ญาติเจริญ
ไกรสร รวยป้อม
ชาญณรงค์ ชูสุย
มนัสนันทน์ บุญปาลวงศ์

บทคัดย่อ

 


เครื่องคว้านเม็ดเงาะระบบนิวแมติกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมรรถนะและประเมินสมรรถนะของเครื่องคว้านเม็ดเงาะแบบกึ่งอัตโนมัติ  ทดสอบผลเงาะที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 37-40 มิลลิเมตร ครั้งละ 20 ลูก  ทำการทดสอบ 5 ซ้ำ ลักษณะทางกายภาพผลเงาะ มีค่าเฉลี่ย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 39.08 ± 3.90 มิลลิเมตร ความสูง 50.28 ± 5.02 มิลลิเมตร น้ำหนักทั้งลูก 37.83 ± 3.78 กรัม เปลือกเงาะ 15.96 ± 1.59 กรัม เม็ดเงาะ 3.83 ± 0.38 กรัม และเนื้อเงาะ 12.54 ± 1.25 กรัม ผลการหาสมรรถนะการคว้านเม็ดเงาะ โดยเฉลี่ย เปลือกเงาะเฉลี่ย 42.09% เม็ดเงาะเฉลี่ย 10.18% เนื้อติดเม็ดเฉลี่ย 8.88% เนื้อเงาะเฉลี่ย 33.10% ค่าความสูญเสียเฉลี่ยได้ 5.80% ต่อน้ำหนักเงาะที่ใช้ในการทดสอบ ผลการประเมินสมรรถนะ อัตราความพร้อมการเดินเครื่อง 61.80%  ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง 98.33% ความสามารถในการผลิตอัตราคุณภาพ 88.99% ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร 77.86% ความสามารถของเครื่อง 1,945.95 ลูกต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพของเครื่อง 89%


 

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

ธีรศักดิ์ โกเมฆ. พัฒนาเครื่องคว้านเมล็ดลิ้นจี่. กรมวิชาการเกษตร; 2559.

เดชฤทธิ์ มณีธรรม. คัมภีร์การใช้งานระบบนิวแมติกส์. สำนักพิมพ์วี.พริ้นท์: กรุงเทพฯ; 2560.

ปานเพรช ชินินทร. นิวแมติกส์อุตสาหกรรม. ซีเอ็ดยูเคชั่น: กรุงเทพฯ; 2521.

ภัทรวุธ ภัทระธนกุลชัย. ไฮดรอลิคส์และนิวแมติกส์. ซีเอ็ดยูเคชั่น: กรุงเทพฯ; 2559.

มาสสุภา โพธิ์รอด. การสร้างเครื่องแกะเปลือกเมล็ดบัวหลวง. [วิทยานิพนธ์] คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2559.

ศุภกิตต์ สายสุนทร. การออกแบบหัวคว้านและเครื่องคว้านเม็ดเงาะ.คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน; 2560.

อำพล ซื่อตรง. งานนิวแมติกส์และไฮดรอลิคส์เบื้องต้น. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ:กรุงเทพฯ; 2556.

Admin. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565]. เทคนิคคว้านเงาะ. เข้าถึงได้จาก: https://thaitopnews.info/เทคนิคคว้านเงาะ