การพัฒนาเครื่องตรวจจับกรวดหินในยางก้อนถ้วย

Main Article Content

พงศกร พรมอินทร์
มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ
สหพงศ์ สมวงค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาเครื่องตรวจจับกรวดหินในยางก้อนถ้วย หลักการตรวจจับกรวดหินในยางก้อนถ้วยโดยใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีความยาวคลื่นระหว่าง 700-2,500 นาโนเมตร  และโหลดเซลล์      ซึ่งเป็นเทคนิคแบบไม่ทำลายตัวอย่างและตรวจได้รวดเร็วและแม่นยำ เพื่อช่วยในการคัดแยกยางก้อนถ้วยที่มีกรวดหินและทรายออกไปจากสายการผลิตยางเครพก่อนที่จะทำให้เครื่องรีดยางเครพเสียหาย ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาประสิทธิภาพในการตรวจจับสิ่งแปลกปลอมในยางก้อนถ้วยโดยทดลองกับแบบจำลองยางก้อนถ้วยจำนวน 40 ตัวอย่าง ขนาด 240 ลูกบาศก์เซนติเมตร น้ำหนัก 400 กรัม มีตัวอย่างทั้งหมด 40 ตัวอย่าง มีค่าความแม่นยำโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 82.5 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ร้อยละ 17.5 ซึ่งความคลาดเคลื่อนในการตรวจจับสิ่งแปลกปลอมจะอยู่ระหว่างช่วงของยางก้อนถ้วยที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมและยางก้อนถ้วยที่มีสิ่งแปลกปลอมร้อยละ 10

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิจัย

References

Suchat S, Theanjumpol P, Karrila S. Rapid moisture determination for cup lump natural rubber by near infrared spectroscopy. Industrial Crop and Products 2015; 76:772-780.

ชัยวัช โชวเจริญสุข. อุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2563.]. เข้าถึงได้จาก: https://km.raot.co.th/uploads/dip/userfiles/1_km/IO_Rubber_190617_TH_EX.pdf

ณัฐวดี ศิริประสมทรัพย์. ปัจจัยที่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์เนื้อยางของยางก้อนถ้วย. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://km.raot.co.th/km-knowledge/detail/224

อมรเดช พุทธิพิพัฒน์ขจร. การพัฒนาอุปกรณ์พกพาเพื่อหาปริมาณความชื้นของยางพาราแผ่นดิบด้วยวิธีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2563; 28:1845-1856.

Cornish K, Myers MD, Kelley S. Latex quantification in homogenate and purified latex samples from various plant species using near infrared reflectance spectroscopy. Industrial Crop and Products 2004; 19:283-296.

Rittiron R, Seehalak W. Moisture content in raw rubber sheet analyzed by transfectance near infrared spectroscopy. Journal of innovation optical health sciences 2014; 7(4): 1350068-1–1350068-6.

Pamornnak B, Limsiroratana S , Chongcheawchamnan M. Oil content determination scheme of postharvest oil palm for mobile devices. Biosystems engineering 2015; 134:8-9.

Pamornnak B, Pamornnak S, Khaorapapong T, Chongcheawchamnan M, Ruckelshausen A. An automatic and rapid system for grading palm bunch using a Kinect camera. computers and Electronic in Agriculture 2017; 143: 227–237.

Martins BM, et al. Estimating body weight, body condition score, and type traits in dairy cows using three dimensional cameras and manual body measurements. Livestock Science 2020; 236:104054.

ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. เอกสารคำแนะนำสำหรับชาวสวนยาง คู่มือการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี. (สื่อออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=4911

ภานุวัฒน์ ทรัพย์ปรุง, จุฬวฎี ตุ่นป่า, ศักดิ์นรินทร์ ตรีศูนย์ และ ประสิทธิ์ โสภา. การหาปริมาณเนื้อยางแห้งในยางก้อนถ้วยแบบรวดเร็วโดยใช้เทคนิค FT-NIRs และ DLP-NIRs. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติครั้งที่ 19, 26-27 เมษายน 2561, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์; 2561.