การประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนกระบวน การจัดเก็บสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา: บริษัท XYZ

Main Article Content

พัฒนพงษ์ พลายแก้ว
วันพิชิต เบ็งจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กิจกรรม และต้นทุนของกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-Based Costing: ABC) กรณีศึกษา บริษัท XYZ ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลังมีกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานทั้งหมด 4 กิจกรรมประกอบด้วย การรับสินค้าเข้าคลังสินค้า การขนย้ายสินค้าเข้าคลังสินค้า การจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า และการเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้า และผลการวิเคราะห์ต้นทุนของแต่ละกิจกรรมด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-Based Costing: ABC) พบว่าต้นทุนรวมของกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลังทั้ง 4 กิจกรรม มีค่า 88,038 บาทต่อเดือน ซึ่งกิจกรรมที่มีต้นทุนสูงที่สุดคือกิจกรรมการเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้า 27,808.81 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 31.59 ของต้นทุนรวมทั้ง 4 กิจกรรม รองลงมาคือต้นทุนกิจกรรมการจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า 26,538.22 บาทต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ 30.14 ถัดมาคือต้นทุนกิจกรรมการขนย้ายสินค้าเข้าคลังสินค้า 21,434.40 บาทต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ 24.35 และต้นทุนที่ต่ำที่สุดคือต้นทุนกิจกรรมการรับสินค้าเข้าคลังสินค้า 12,256.57 บาทต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ 13.92

Article Details

How to Cite
1.
พลายแก้ว พ, เบ็งจีน ว. การประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนกระบวน การจัดเก็บสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา: บริษัท XYZ. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 26 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];10(1). available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/253985
บท
บทความวิจัย

References

กานติมา อิ่มศร ต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูปด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรม บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2012.

เกศินี สือนิ การประยุกต์ใช้แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน (Supply Chain Operational Reference Model: SCOR Model) เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ในกระบวนการปลูกข้าวหอมมะลิ พันธุ์ 105 กรณีศึกษาเกษตรกรปลูกข้าวบ้านเขือง อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2022: 238 – 253.

กิตินันท์ พลสวัสดิ์. คู่มือเรียนและการใช้ Visual C. อินโฟเพรส: กรุงเทพฯ; 2011.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. การจัดการต้นทุนโลจิสติกส์. โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง:กรุงเทพฯ; 2008.

จิรวรรณ ปลั่งพงษ์พันธ์. การวิเคราะห์ต้นทุน ทางการตลาดดิจิทัลสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรมและการบริหารฐานกิจกรรม. Rajapark Journal 17.52 2023: 433-449.

ชาญศักดิ์ ตั้งสันติกุลานนท์. การวิเคราะห์ ต้นทุน การผลิตขาเทียมโดยใช้ ระบบต้นทุนฐาน กิจกรรม. Ladkrabang Engineering Journal 32.4 2015: 37-42.

ชุลีกร ชูโชติถาวร. ต้นทุนฐานกิจกรรมและการจำลองสถานการณ์เพื่อลดต้นทุนกระบวนการ ด้านโลจิสติกส์ใน อตสาหกรรม โกโก้.Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) 2022: 97-110.

ทศพร มะโนแสน. การวิเคราะห์ต้นทุนการ จัดการรับคืนสินค้าด้วยการคิดต้นทุนฐาน กิจกรรมเกณฑ์เวลา. [สารนิพจน์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สหสาขาวิชาการจัดการด้านโลจสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์; 2022.

เบญจรัตน์ คู่กระสังข์. การประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนน้ำดื่มบรรจุขวด กรณีศึกษาโรงน้ำดื่มจตุเฟรช [งานนิพนธ์ศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ คณะโลจิสติกส์: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2013.

ปริดา จิ๋วปัญญา และ ภาคภูมิใจ ชมภู. การศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมใน กระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เพื่อหาแนวทางในการกำหนดราคากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผ่านศึก ตำบลตลุกกลางทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสาร วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 38.2 2021; 107-118.

เยาวลักษณ์ ซาหนองหว้า และ ชฎาพร ฑีฆาอุตมากร. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังของ บริษัท ซี เอส สตีล โปรดักส์จํากัด. วารสารวิจัยธุรกิจและการจัดการเพื่อความเป็นเลิศ. 2019; 1(2): 1-14.

รัชฎา แต่งภูเขียว กฤษณา ดลประเสริฐ และ นริศรา สำราญสม. การศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์ โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์แคระ วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี พฤศจิกายน - มิถุนายน 2020; 77 – 86.

ศุภัชญา โชตยะกุล และ วราธร ปัญญางาม. การออกแบบการประเมินต้นทุนการผลิตสำหรับประมาณการต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่. วารสารวิชาการปทุมวัน ปีที่ 10 ฉบับที่ 29 กันยายน - ธันวาคม 2020; 15 – 28.

เศรษฐภูมิ เถาชารี จิรวัฒน์ ตั้งจิตโสมนัส, จิรวดี อินทกาญจน์ อรรถพล ป้อมสถิตย์นฤมล วิถีธรรมศักดิ์ และ นพวรรณ์ พรศิริ. การวิเคราะห์และบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ของโซ่ อุปทานข้าว : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม 2020; 153 – 172.

สุกฤษฎิ์ เพชรสวัสดิ์ ธัชชัย เทพกรณม ณัฐพร ตั้งเจริญชัย และ หทัยธนก พวงแย้ม. การวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริงในการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองด้วยการประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2019; 81 – 98.

สุชาดา กุลธง. การศึกษาแนวทางการคิดต้นทุนกิจกรรมต่อหน่วยของโครงการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2003.

สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เรื่องมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ (สื่อออนไลน์) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 มกราคม 2024].เข้าถึงได้จากhttps://www.ditp.go.th/contents_attach/761850/761850.pdf

สุพจน์ คำมะนิด และ สมเกียรติ์ อินตาวงค์. การวิเคราะห์ต้นทุนทางโลจิสติกส์โดยใช้ระบบ ต้นทุนฐานกิจกรรมของกลุ่มผู้ปลูกกาแฟ อำเภอ แม่ลาน้อยจังหวัดแม่ฮ่องสอน.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 15.3 2021; 210-216.

อรปวีณ์ เลิศไกร และ กนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์ การบริหารต้นทุนโดยใช้เอบีซีในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019; 1 - 16.

เอกชัย คุปตาวาทิน พัลลภ พรมสาเพ็ชร และ วาสนา ชอมะลิ. การศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดชัยภูมิ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 2013; 8(3) : 89-98.

อาสาฬห์ อุตตาลกาญจนา. การเปรียบเทียบ ต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ของการ ปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์และอินทรีย์ในแต่ละฤดูกาลของจังหวัดนครสวรรค์.วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล สงคราม 4.1 2022; 74-91.