การประยุกต์ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ ภายในโรงอาหารแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ธน อุดมธนานันต์
คมกฤช ปิติฤกษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเฉพาะพื้นที่ศูนย์อาหารและบริการ 2 (โรงชาย) ที่ประสบปัญหาการเลือกประเภทร้านค้าและการจัดวางตำแหน่งร้านค้าที่เหมาะสม การวิจัยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นที่เช่าและประเภทร้านค้า จากนั้นใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการกำหนดประเภทร้านค้าและตำแหน่งร้านค้าที่เหมาะสม โดยผลการคัดเลือกให้มีร้านค้าตามจำนวนที่กำหนดและประเภทที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ สมการทางคณิตศาสตร์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการจัดวางตำแหน่งร้านค้าด้วยและใช้โปรแกรม LINGO® ในการแก้ปัญหา ซึ่งให้ผลลัพธ์โดยทำให้ร้านค้าที่ถูกกำหนดให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยที่รายได้จากค่าเช่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.34

Article Details

How to Cite
1.
อุดมธนานันต์ ธ, ปิติฤกษ์ ค. การประยุกต์ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ ภายในโรงอาหารแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. featkku [อินเทอร์เน็ต]. 26 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 23 มกราคม 2025];10(2):41-50. available at: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/256570
บท
บทความวิจัย

References

สาวิตรี สาธุ และ สุนาริน จันทะ. การหารูปแบบการเลือกแหล่งซื้อมันสำปะหลังโดยใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปมันเส้นสะอาด จังหวัดฉะเชิงเทรา. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2555, 2555.

เพชรายุทธ แซ่หลี, วชิระ วิจิตรพงษา และ หทัยธนก พวงแย้ม. การจัดเส้นทางการขนส่งน้ำดื่มโดยใช้การโปรแกรมเชิงเส้น กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด รัศมี 2015. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2560; 10(1): มกราคม 2560-มิถุนายน 2560.

พิทยุตม์ คงพ่วง และ สุธาทิพย์ เลิศวิวัฒน์ชัยพร. การประยุกต์โปรแกรมเชิงเส้นตรงเพื่อหาสัดส่วนวัสดุธรรมชาติเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกแห้ว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2561; 7(3).

ฐิติมา วงศ์อินตา, อนิรุทธ์ ขันธสะอาด และกิตติ เจริญสุข. การบริหารรถขนส่งและเส้นทางเดินรถโดยใช้เทคนิคโปรแกรมเชิงเส้น กรณีศึกษารถขนส่งสินค้าอันตรายประเภทของเหลว.วารสารการขนส่งและโลจิสติกส์. 2561; 11(1).

ศักดิ์สิทธิ์ ศุขสุเมฆ. สร้างแบบจําลองเพื่อการตัดสินใจ. บ. ซีเอ็ดยูเคชั่น: กรุงเทพมหานคร; 2557.

จุฑารัตน์ บุษยานุรักษ์. การจัดรถโดยสารที่ เหมาะสม สำหรับตารางเดินรถ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2553.

ธนพล ไพสิฐสุวรรณ. การประยุกต์ใช้ Center of gravity และ Factor rating ในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าเหล็ก กรณีศึกษาร้านสินไทยของเก่า. เชียงราย: ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2555.

Santiwong T. Organizational Behavior. Thai Wattanapanich: Bangkok: 1994.

พุทธางกูร เขียวทอง , คมกฤช ปิติฤกษ์. การออกแบบแผนผังเพื่อกำหนดตำแหน่งจัดเก็บในคลังสินค้าการเกษตร. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ. FEAT JOURNAL January - June 2022. 2565: 69 – 77.