การหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการอบคืนตัวของเหล็กกล้าผสม โดยวิธีพื้นผิวตอบสนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังงานแรงกระแทกของเหล็กกล้าผสม AISI 4140 เพื่อหารูปแบบ
และข้อกำหนดวิธีปฏิบัติในกระบวนการอบคืนตัว โดยนำเทคนิคการออกแบบการทดลองด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง
ชนิดการออกแบบส่วนประสมกลาง เพื่อศึกษาผลของปัจจัย 2 ปัจจัย คืออุณหภูมิและเวลาในการอบคืนตัว จากการ
ทดลองพบว่าปัจจัยทั้งสองปัจจัยมีผลต่อพลังงานแรงกระแทกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ข้อมูลจากการทดลองที่ได้มีความเหมาะสมกับสมการควอราติก เนื่องจากให้ค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจสูง (R2
= 99.08%) เมื่อนำสมการทางคณิตศาสตร์ที่ได้มาสร้างกราฟพื้นผิวตอบสนองสามมิติและกราฟโครงร่างเพื่อหา
ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการอบคืนตัว พบว่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการอบคืนตัวคือ
อุณหภูมิในการอบคืนตัว 591 องศาเซลเซียส และเวลาในการอบคืนตัว 94 นาที ซึ่งทำให้พลังงานแรงกระแทก
เท่ากับ 75.6 จูล
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะได้รับอนุญาต แต่ห้ามนำไปใช้เพื่่อประโยชน์ทางธุรกิจ และห้ามดัดแปลง
References
[2] สมศักดิ์ แก้วพลอย, การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการอบชุบเหล็กกล้าผสมด้วยความร้อน, การประชุมข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการประจำปี 2550, 24-26 ตุลาคม 2550, ภูเก็ต, หน้า 814-818, 2550.
[3] มนัส สถิรจินดา, เหล็กกล้า, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพฯ, หน้า 1-157, 2537.
[4] มนัส สถิรจินดา, วิศวกรรมการอบชุบเหล็ก, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพฯ, หน้า 5-125, 2535.
[5] Metal Handbook Vol 1, Property and Selection Iron and Steels, ASM Handbook. [6] Mongomery, DC., Design and Analysis of Experiment, John Wiley & Sons Inc, New York, 2001.
[7] กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ, สถิติสำหรับงานวิศวกรรมเล่ม 2, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ, หน้า 19-400, 2551.
[8] Mongomery, D.C. and Runger, G.C., Applied Statistics and Probability for Engineering, John Wiley & Son Inc., New York. 2003.
[9] ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุทธยา และ พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์, การออกแบบและการวิเคราะห์การทดลอง,สำนักพิมพ์ท้อป, กรุงเทพฯ, หน้า 295-322, 2551.