การพยากรณ์ความต้องการใช้กาวดักแมลงวัน

Main Article Content

เสาวนิตย์ เลขวัต
ศิริวรรณ สัมพันธมิตร
วรรณดา สมบูรณ์
กนกวรรณ สังสรรค์ศิริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบว่าเทคนิคการพยากรณ์ใดที่มีความแม่นยำและเหมาะสมกับข้อมูลมากที่สุด โดยวัดจากค่าความคาดเคลื่อนของการพยากรณ์ และเพื่อช่วยให้ทราบถึงความต้องการกาวดักแมลงวันในแต่ละเดือนโดยใช้เครื่องมือการพยากรณ์ต่าง ๆ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ แผ่นกาวดักแมลงสีเหลือง กาวดักแมลงวันแบบซองสีฟ้า และแผ่นกาวดักแมลงวันสีเขียว และใช้รูปแบบการพยากรณ์ ทั้งหมด 7 วิธี ได้แก่ วิธี Simple Moving Average, Weighted Moving Average, Exponential Smoothing, Stationary with additive and multiplicative seasonal effect, Double moving average, Double exponential smoothing (Holt’s method) และ Holt-winter’s method for additive and multiplicative seasonal effect ผลการวิเคราะห์พบว่าค่าพยากรณ์แผ่นกาวดักแมลงวันสีเหลือง ค่าพยากรณ์ของแผ่นกาวดักแมลงวันแบบซองสีฟ้า และค่าพยากรณ์ของแผ่นกาวดักแมลงวันสีเขียวที่ได้จากวิธี Double exponential smoothing (Holt’s method) ที่ให้ค่าคลาดเคลื่อน (MSE) น้อยที่สุดเท่ากับ 551,161.21 , 14,447.7 และ 77,545,737.4 ตามลำดับ ดังนั้นผู้ประกอบสามารถนำเทคนิคการพยากรณ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อพยากรณ์ยอดขายในอนาคตต่อไป

Article Details

How to Cite
เลขวัต เ. ., สัมพันธมิตร ศ., สมบูรณ์ ว. ., & สังสรรค์ศิริ ก. . (2021). การพยากรณ์ความต้องการใช้กาวดักแมลงวัน. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 7(1), 55–67. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/243628
บท
Research and Review Article