การหาจุดเหมาะสมของปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าแรงดึงย้อนกลับของรอยซีล โดยใช้หลักการออกแบบการทดลอง

Main Article Content

Namkham Danthaiwattana
Wuthichai Wongthatsanekorn

บทคัดย่อ

บทความนี้ กล่าวถึงการหาจุดเหมาะสมของค่าแรงดึงย้อนกลับของรอยซีลในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ของอุตสาหกรรมวงจรรวม โดยใช้หลักการออกแบบการทดลอง เนื่องจากค่าแรงดึงย้อนกลับของรอยซีลและค่าดัชนีสมรรถภาพกระบวนการยังไม่ผ่านข้อกาหนดของบริษัทกรณีศึกษา จากการวิเคราะห์ด้วยตารางวิเคราะห์เหตุและผลและการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบในการผลิต จึงได้สมมติฐานว่ามี 7 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อของค่าแรงดึงย้อนกลับของรอยซีล การทดลองจึงถูกแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ซึ่งการทดลองขั้นตอนแรกทาเพื่อคัดทิ้งปัจจัยโดยใช้การออกแบบเศษส่วนเชิงแฟกทอเรียล (27-1) เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีนัยสำคัญ 4 ปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิ แรงดัน เวลาที่ใช้ในการซีล และเวลาที่ใบมีดอยู่ที่จุดพัก การทดลองขั้นตอนที่สองจะนำปัจจัยที่มีนัยสำคัญไปทำการออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลเต็มรูป (24) และทำการหาจุดเหมาะสมของปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าแรงดึงย้อนกลับของรอยซีลจาก 4 วิธี ซึ่งได้
เลือกวิธีที่ให้ค่าแรงดึงย้อนกลับของรอยซีลที่ใกล้เคียงกับค่าเป้าหมายมากที่สุด หลังจากนั้นได้ทำการปรับปรุงกระบวนการของพนักงาน โดยกำหนดให้ใช้ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละปัจจัยเป็นมาตรฐานการทำงานและจัดโปรแกรมฝึกอบรมและควบคุมพนักงานให้ปฏิบัติตามมาตรฐานนั้น ซึ่งสามารถเพิ่มค่าดัชนีสมรรถภาพกระบวนการของค่าแรงดึงย้อนกลับของรอยซีลได้เท่ากับ 1.98 และผ่านข้อกำหนดของบริษัทซึ่งต้องมากกว่า 1.67 ได้

Article Details

How to Cite
Danthaiwattana, N., & Wongthatsanekorn, W. (2017). การหาจุดเหมาะสมของปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าแรงดึงย้อนกลับของรอยซีล โดยใช้หลักการออกแบบการทดลอง. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 3(1), 1–16. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/178711
บท
Research and Review Article

References

[1] กิติศักดิ ์ พลอยพานิชเจริญ, สถิติสำหรับงานวิศวกรรม เล่ม 1, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย–ญี่ปุ่น ), พิมพ์ครัง้ ที่ 2, 2540
[2] วราวุฒิ แก้วอ่อน, การลดของเสียจากขั้วเสาเปลี่ยนสีของแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
[3] สมภพ ตลับแก้ว, การประยุกต์ใช้วิธีการ FMEA เพื่อการปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า,วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, ปีที่ 21 ฉบับที่ 68,2551
[4] เยาวนาฎ ศรีวิชัย, การลดผลิตภัณฑ์มีตำหนิในการผลิตลวดตาข่ายโดยใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่า, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554
[5] กานดา พูนลาภทวี, สถิติเพื่อการวิจัย, สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซนเตอร์, ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี,คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,2539
[6] ปารเมศ ชุติมา, การออกแบบการทดลองทางวิศวกรรม, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครัง้ ที่ 1, 2545
[7] โสภิดา ท้วมมี, การลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตพลาสติกแผ่น โดยใช้วิธีการประยุกต์การออกแบบการทดลอง กรณีศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติก, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2550