การกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานที่เหมาะสมของศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจไฟฟ้า แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

Leutsamay Vilaysouk
Peema Pornprasert

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานและน้ำหนักปัจจัยที่เหมาะสมของศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจไฟฟ้า  แขวงสาละวัน  สปป.ลาว โดยวิธีดำเนินการวิจัย เริ่มต้นจากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้เสีย  สังเคราะห์เอกสารงานวิจัยและสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งอ้างอิงตามแนวคิดของเทคนิคเพื่อการตัดสินใจแบบกลุ่มจัดกลุ่มตัวชี้วัดด้วยเทคนิคแผนภาพความเกี่ยวโยง  พัฒนาแบบสอบถามเพื่อกำหนดปัจจัย คัดเลือกและส่งแบบสอบถามให้ผู้ทรงคุณวุฒิวิเคราะห์แบบสอบถาม  จากนั้นส่งแบบสอบถามให้แก่กลุ่มตัวอย่างซึ่งกำหนดไว้ 100 คน ประมวลผลแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  จากนั้นจัดทำเป็นแบบสอบถามเปรียบเทียบรายคู่ ตามกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานจำนวน 8 ท่านเป็นผู้ประเมิน  จากการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดการดำเนินงานที่เหมาะสมของศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจไฟฟ้า  แขวงสาละวัน  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่รวบรวมได้มีทั้งหมด  35 ตัว  มีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบที่เหมาะสมเหลืออยู่ 13 ตัว และ ปัจจัยหลักด้านเวลามีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความน่าเชื่อถือ  และ ด้านต้นทุน ตามลำดับ โดยมีน้ำหนักความสำคัญ 0.45  0.34  และ 0.21 ตามลำดับ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องสามารถนำปัจจัยตัวชี้วัดและผลน้ำหนักของปัจจัย ไปใช้ในการจัดลำดับความสำคัญเพื่อวางแผนการทำงานในอนาคตต่อไป

Article Details

How to Cite
Vilaysouk, L., & Pornprasert, P. (2019). การกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานที่เหมาะสมของศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจไฟฟ้า แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 5(1), 14–20. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/197820
บท
Research and Review Article

References

[1] ศูนย์อาเซียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ข้อมูลการค้าการลงทุนลาว, กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม, 2558
[2] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2556
[3] Yamane T, Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.), New York: Harper & Row, 1973
[4] คำนาย อภิปรัชญาสกุล, การจัดการขนส่ง, นนทบุรี: ซี.วาย. ซิซเทิมพริ้นติ้ง, 2550
[5] กัลยา วานิชบัญชา, การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมชาติ, 2551
[6] วิฑูรย์ ตันศิริมงคล, AHP: กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก, กรุงเทพฯ: กราฟฟิค แอนด์ ปริ้นติ้ง เซ็นเตอร์, 2542
[7] ฐิตินันท์ ภูนิคม, การประเมินและปรับปรุงกระบวนการผลิตชุดโครงผานไถ [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต], เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553
[8] อรุณ อุ่นไธสงค์, การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการสีข้าว [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต], อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2553
[9] กิตติกร เกียรติคุณรัตน์ และ วรรณา จงบรรเจิดเพชร, ดัชนีวัดประสิทธิภาพสำหรับช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต], กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553
[10] จิตตสาร ศรีอุดมชัย, การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับรางวัลนวัตกรรม, [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต], กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555