การประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกส์สำหรับแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบประเภทที่ 2 กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป

Main Article Content

Ganokgarn Jirasirilerd
Thaweesak PIathawee
Jenwit Tanumat
Wanwisa Lakhan
Sutira Taobun

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอและประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกส์ (Heuristic Method) 3 วิธี สำหรับแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายงานการประกอบประเภทที่ 2 โดยมีการพิจารณาประเภทของเครื่องจักรร่วมด้วยในแต่ละสถานีงาน ซึ่งมีจำนวนสถานีงาน 19 สถานี และประสิทธิภาพของสายงานการประกอบในปัจจุบันเท่ากับ 65.40 เปอร์เซ็นต์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหารอบเวลาการผลิตที่น้อยที่สุด (C) ซึ่งจัดเป็นปัญหาการจัดสมดุลสายงานการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 2 (Simple Assembly Line Balancing Type 2 : SALBP-2) จากผลการศึกษาพบว่าการประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกส์โดยวิธีกฎเกณฑ์เวลาน้อยที่สุด (Minimum Task Time: Min.Time) สามารถลดรอบเวลาการผลิตลงได้จากเดิม 2.950 นาที เป็น 2.687 นาที และสามารถเพิ่มมีประสิทธิภาพของสายงานการประกอบเย็บได้เท่ากับ 71.80 เปอร์เซ็นต์

Article Details

How to Cite
Jirasirilerd, G., PIathawee, T., Tanumat, J., Lakhan, W., & Taobun, S. (2019). การประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกส์สำหรับแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบประเภทที่ 2 กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 5(2), 27–35. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ienj/article/view/218219
บท
Research and Review Article

References

[1] Nuchsara Kriengkorakot and Nalin Pianthong, The Assemble Line Balancing Problem Review Articles, KKU Engineering Journal, 34(2), 133-140, 2007.

[2] A. L. Gutjahr and G. L. Nemhause, An algorithm for the line balancing problem, Management Science, 11(2), 8-315, 1964

[3] จักรินทร์ กลั่นเงิน, การจัดสมดุลสายการประกอบด้วยวิธีการสุ่มอย่างมีหลักเกณฑ์ กรณีศึกษาโรงงานผลิตตู้แช่. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 5(2), 56-69. ก.ค. - ธ.ค. 2558

[4] ณัฐ ประสีระเตสัง, การปรับปรุงสายการผลิตด้วยวิธีสมดุลสายงานการผลิตกรณีศึกษาการผลิตชุดชั้นในสตรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2560

[5] ภาณุภัณฑ์ ภาระเวช, ระพีพันธ์ ปิตาคะโส และปรุฬห์ มะยะเฉี่ยว, การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบการด้วยวิธีดิฟเฟอร์เรนเชียลอีโวลูชั่น กรณีศึกษาโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, ปีที่ 6(2), 92–104. พ.ค. – ส.ค. 2557

[6] กนกกาญจน์ จิรศิริเลิศ, การใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างในการจัดสมดุลสายการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1 กรณีพิจารณาจำนวนประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในแต่ละสถานีงาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2556

[7] รุ่งวสันต์ ไกรกลาง, การเพิ่มประสิทธิภาพสายการผลิตงานเชื่อมประกอบชิ้นส่วนยานยนต์. ในการประชุมข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ (น 225-233). ชะอำ:เพชรบุรี, 2555

[8] ชุมพล ศฤงคารศิริ, การวางแผนและควบคุมการผลิต, กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย- เยอรมัน), 2535