การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกระบวนการผลิตร่มโบราณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตร่มโบราณ ให้ตอบสนองการรองรับต่อความต้องการของลูกค้า และการเพิ่มผลผลิตให้แก่ผู้ประกอบการ โดยการนำหลักการการศึกษางานและการศึกษาเวลาในการทำงาน วิเคราะห์โดยใช้แผนภูมิกระบวนการไหล พบว่าเกิดปัญหารอคอยในขั้นตอนการเจาะรูค้ำร่มโบราณ เนื่องจากต้องทำการเจาะครั้งละหนึ่งรูและมีความยุ่งยาก ผู้วิจัยจึงได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยการประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ได้แก่ การรวมวิธีการทำงานบางขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนเข้าด้วยกัน (Combine) และการปรับปรุงวิธีการทำงานให้ง่ายขึ้น (Simplify) โดยการออกแบบเครื่องมือช่วยในการทำงาน คือ อุปกรณ์เจาะรูค้ำร่มโบราณ จากนั้นดำเนินการทดลองเพื่อทดสอบหาสภาวะที่เหมาะสมของอุปกรณ์โดยการทดลองหาลักษณะการเรียงของดอกสว่าน 4 ลักษณะ ได้แก่ เส้นตรง เฉียง ตัววี(V) และตัววีคว่ำ(Λ) ด้วยแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Complete Randomized Design; CRD) พบว่าลักษณะการเรียงตัวของดอกสว่านมีผลกระทบต่ออัตราเร็วในการเจาะรูค้ำร่มโบราณอย่างมีนัยสำคัญ (P-Value=0.00) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และลักษณะการเรียงตัวของดอกสว่านแบบเส้นตรงให้อัตราเร็วในการเจาะรูสูงที่สุดเท่ากับ 0.84 มิลลิเมตร/วินาที หลังปรับปรุงกระบวนการผลิตสามารถช่วยให้พนักงานทำงานได้รวดเร็วขึ้นโดยสามารถเจาะรูค้ำร่มเพียงครั้งเดียวได้จำนวน 8 รูต่อค้ำร่มโบราณ 1 ชิ้น ขั้นตอนการเจาะรูค้ำร่มจากเดิม 13 ขั้นตอน ลดลงเหลือ 5 ขั้นตอน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตร่มโบราณจากเดิม 1 คัน ใช้เวลาในการผลิต 75.09 นาที เป็น 38.73 นาที คิดเป็นประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.42
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะได้รับอนุญาต แต่ห้ามนำไปใช้เพื่่อประโยชน์ทางธุรกิจ และห้ามดัดแปลง
References
สุภาภรณ์ สุวรรณรังสี, เดชา พวงดาวเรือง. การลดความสูญเปล่าของกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอก กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรบ้านจำปา จังหวัดสกลนคร. เอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปีพ.ศ. 2555; 17-19 ตุลาคม พ.ศ. 2555; ชะอำ เพชรบุรี; 2555. หน้า 253–260.
จรวยพร แสนทวีสุข, ธน ทองกลม, วิภาดา ศรีหมื่น, ภัทรา สุขประเสริฐ. การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต กรณีศึกษา กลุ่มผลิตไม้ตีพริก ชุมชนบ้านคำเจริญสุข. เอกสารสืบเนื่องงานประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อบ.วิจัย ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2559; 2559. หน้า 59–72.
ชยันต์ คำบรรลือ, ธันย์นรีพรไพรเพชร และ ไกรสร วงษ์ปู่. การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตัดกระยาสารท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทยบ้านตาก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 2562; ปีที่ 4; ฉบับที่ 2: 45 –53.
อมรรัตน์ ปิ่นชัยมูล และ ศิระพงศ์ ลือชัย. การปรับปรุงวิธีการทางานสำหรับ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ไรซ์แครกเกอร์ด้วยแนวคิดไคเซ็น. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย. 2563; ปีที่ 6; ฉบับที่ 1: 1-7.
ศุภพัฒน์ ปิงตา และสุวัจน์ ด่านสมบูรณ์. การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสลักเพลา. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย. 2563; ปีที่ 6; ฉบับที่ 1: 8-18.
ศุภพัฒน์ ปิงตา. การลดเวลาในกระบวนการประกอบปะเก็นโลหะ. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย. 2564; ปีที่ 7; ฉบับที่ 1: 1-7.
Kunal Umakant Verule, K. S. Zakiuddin, P. S. Kadu and Gaurav P. Shukla, A Review Paper on Design, Analysis and Manufacturing of Fixtures for Aerospace Component. International Journal for Scientific Research & Development. 2018; Vol. 5(11): 359-362.
ประจวบ กล่อมจิตร, เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในองค์กร, สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557
Carvarella, M., Demelio, G. and Ciavarella, M. Numerical method for the optimization of specific sliding, stress concentration and fatigue life of gears. International Journal of Fatigue. 1999; 21: 465-474.