การประเมินและการจัดการคลังสินค้าบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อปรับปรุงและลดเวลาในกระบวนการการจัดเก็บและการหยิบสินค้าตามใบนำสินค้าออก และประเมินประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าก่อนและหลังการปรับปรุงคลังสินค้าบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยการวิเคราะห์ปัญหาคลังสินค้าโดยใช้แผนผังก้างปลา การวิเคราะห์แบบเอบีซี และประเมินประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า (ตัวชี้้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุุตสาหกรรม) เพื่อที่จะเสนอแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในเรื่องต้นทุน โดยดำเนินงานวิจัยเริ่มต้นศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของคลังสินค้า ทำการปรับปรุงการจัดวางตำแหน่งสินค้าและทดลองเก็บเวลาในการหยิบสินค้าของตำแหน่งจัดวางเดิมเพื่อเปรียบเทียบกับการจัดวางตำแหน่งที่จัดทำขึ้นใหม่โดยการจัดตำแหน่งใหม่และมีการทำงานที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งส่งผลให้ได้ต้นทุนที่ลดลง โดยการสุ่มเลือกใบนำออกสินค้ามาทดลองในวิธีการหยิบ และเก็บข้อมูลด้านเวลา เพื่อเปรียบเทียบหาเวลาที่ดีที่สุดซึ่งพบว่าสามารถลดสามารถลดระยะเวลาในการหยิบถึง 366 วินาที คิดเป็นร้อยละ 49.51 และระยะเวลาเฉลี่ยของการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปลดลง 10 วัน อัตราความแม่นยำของสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.2 ทำให้ระบบการจัดการคลังสินค้าและการหยิบสินค้ามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะได้รับอนุญาต แต่ห้ามนำไปใช้เพื่่อประโยชน์ทางธุรกิจ และห้ามดัดแปลง
References
Rebeloa C. G. S., Pereiraa M. T., Silva F. J. G., Ferreira L. P., and Sá J. C. 2021, The relevance of space analysis in warehouse management. Procedia Manufacturing, p. 471-478.
Antonio Cosma, Romina Contea, Vittorio Solina ,and Giuseppina Ambrogio, Design of KPIs for evaluating the environmental impact of warehouse operations: a case study. Procedia Computer Science, 2024. 232: p. 2701-2708.
Phupattarakit, T. and P. Chutima. Warehouse Management Improvement for a Textile Manufacturer. In IEEE 6th International Conference on Industrial Engineering and Applications (ICIEA). 2019.
ธงชัย แสงสุวรรณดี และ สกนธ์ คล่องบุญจิต, “การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า ด้วยเทคนิค ABC และ การพยากรณ์ กรณีศึกษาระบบการจัดเก็บสินค้า”. วิศวสารลาดกระบัง, ปี ที่ 38 ฉบับที่ 4 ธันวาคม, 2564.
รัตนา ธัญญเจริญ, ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์และ เชษฐ์ภณัฏ ปัญญวัชรวงศ์, “แนวทางการปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสาเร็จรูปด้วยวิธี ABC Analysis กรณีศึกษา บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดสมุทรสาคร”. วารสารมนาย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี.ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน,2563.
Burganova, N., Grznar, P., Gregor, M., & Mozol, Š.,2021. Optimalisation of internal logistics transport time through warehouse management: case study. Transportation Research Procedia, 55, 553-560.
Van den Berg, J. P., & Zijm, W. H.,1999. Models for warehouse management: Classification and examples. International journal of production economics, 59(1-3), 519-528.
Sakdiyah, S. H., Eltivia, N., & Afandi, A,2022. Root cause analysis using fishbone diagram: company management decision making. Journal of Applied Business, Taxation and Economics Research, 1(6), 566-576.
Zhang, Z., Li, K. W., Guo, X., & Huang, J. ,2020. A probability approach to multiple criteria ABC analysis with misclassification tolerance. International journal of production economics, 229, 107858.
กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. คู่มือการประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์์และซัพพลายเชน.,2567.