การสกัดเซลลูโลสจากต้นกกเพื่อใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เส้นใยอาหาร

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สุปัญญา พงอุดทา สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • พรนภา บุญตา สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อรุณรัตน์ อุทัยคู สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กก, ดินเค็ม, เซลลูโลส, เส้นใยอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดเซลลูโลสจากต้นกกและเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของต้นกกที่เกิดในดินเค็มและดินทั่วไปสำหรับความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารและแหล่งเซลลูโลสทดแทน ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการนำพืชหลายชนิดมาทำการสกัดเซลลูโลสแต่ก็ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศเนื่องจากมีปริมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นต้นกกซึ่งมีราคาถูก เป็นวัชพืชทนเค็ม จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถใช้ทดแทนพืชชนิดอื่นๆได้

จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของต้นกกพบว่าต้นกกที่เกิดในดินเค็มและดินทั่วไปมีปริมาณความชื้นร้อยละ 2.04 และ 2.67 มีเถ้าร้อยละ 2.64 และ 2.32 มีแอลฟาเซลลูโลสร้อยละ 43.73 และ 51.61 มีโฮโลเซลลูโลสร้อยละ 80.20 และ 70.52 และลิกนินร้อยละ 14.92 และ 17.30 ตามลำดับ โดยต้นกกในดินเค็มสามารถสกัดเซลลูโลสได้ร้อยละ 81.91 และต้นกกในดินทั่วไปสามารถสกัดเซลลูโลสได้ร้อยละ 88.74 ยืนยันโครงสร้างเซลลูโลสที่สกัดได้ด้วยเทคนิค Fourier-transform infrared spectroscopy (FT-IR) และ เทคนิค X-ray Diffraction (XRD) จากการศึกษาพบว่า ต้นกกทั้งในดินเค็มและดินทั่วไปมีปริมาณเส้นใยสูงสามารถสกัสเซลลูโลสและเหมาะสมในการผลิตเป็นเส้นใยอาหารที่ไม่ต้องการพลังงานได้

References

จันทร์รัตน์ เลิศมโนรัตน์และคณะ. (2539). การใช้เซลลูโลสที่สกัดจากกากอ้อยในผลิตภัณฑ์เค้กช็อกโกแลตแคลอรีต่ำ. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาลักษณ์ วงศ์สรรเสริญและคณะ. (2544). การใช้เซลลูโลสผงที่ผลิตจากเปลือกถั่วเหลืองและเปลือกถั่วเขียวเพื่อลดการอมน้ำมันในปาท่องโก๋. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจบ ชุณหสวัสดิกุลและปาริชาติ สักกะทำนุ. (2539). คุณค่าอาหารเส้นใยป้องกันบำบัดสารพัดโรค. กรุงเทพมหานคร: รวมทัศน์.

ปิยพร พยัฆพรม. (2558). การควบคุมคุณภาพของสมุนไพร. องค์การเภสัชกรรม. 22(4): 1-7.

ปรีชา เกียรติกระจาย. (2528). เคมีของเนื้อไม้. ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์. คณะวนศาสตร์:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิธิยา รัตนาปนนท์. (2537). โภชนศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

นันทนา สิทธิชัย. (2547). มาตรฐานของสมุนไพรในตำราตามมาตรฐานยาสมุนไพรไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักยาและวัตถุเสพติด.

วิทยา ปั้นสุวรรณ, ปริศนา สิริอาชา, สุชาดา อุชชิน, บุญฤทธิ์ ชูประยูร, บุศรินทร์ คงเสรี, จารุวรรณ ไผ่ทอง, เนตร ชนก สิริพงศ์พันธ์. (2549). การผลิตเยื่อที่มีแอลฟาเซลลูโลสสูง และไซโลสจากชานอ้อยและซังข้าวโพดโดยวิธีระเบิดด้วยไอน้ำ.ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

รุ่งทิพย์ ลุยเลา. (2559). การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในมุมมองของนักออกแบบ กรณีศึกษา: การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยกระบวนการย้อมสีทะลายปาล์มเปล่าที่เหลือจากการผลิตน้ำมันปาล์ม. วารสารสิ่งแวดล้อม. 20(1): 54-62.

ศศิเกษม ทองยงค์และพรรณี เดชกำแหง. (2530). เคมีอาหารเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียน สโตร์.

ศรัญญา ยิ้มย่อง. (2547). การเปลี่ยนเชิงชีวภาพของแอลฟาเซลลูโลสจากวัชพืชไปเป็นเอทานอล. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

Ang, J. F. (1991). Water retention capacity and viscosity effect powdered cellulose. J. Food Scince., 56(2), 1682–1684.

Heloisa Tibolla, Franciele Maria Pelissari. (2014). Cellulose nanofibers produced from banana peel by chemical and enzymatic treatment. Campinas University.

Lu P., Hsieh Y.-L. (2012). Preparation and characterization of cellulose nanocrystals from rice straw. Carbohydrate Polymer. 87: 564–573.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-11

How to Cite

พิมพ์จันทร์ พ., พงอุดทา ส., บุญตา พ., & อุทัยคู อ. (2018). การสกัดเซลลูโลสจากต้นกกเพื่อใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เส้นใยอาหาร. SciTech Research Journal, 1(1), 19–25. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jstrmu/article/view/245739