คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของขนมจีนน้ำยา
คำสำคัญ:
คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของอาหาร, วิธีนับจำนวนจุลินทรีย์บนอาหารแข็ง, ขนมจีนน้ำยาบทคัดย่อ
ศึกษาคุณภาพด้านจุลชีววิทยาของขนมจีนน้ำยา โดยสุ่มเก็บตัวอย่างขนมจีนน้ำยาป่าและน้ำยากะทิ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงมกราคม 2562 จากแผงลอย จำนวน 4 ร้าน รถเข็นจำนวน 3 ร้าน และร้านค้าจำนวน 13 ร้าน รวมจำนวน 60 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหาจำนวนแบคทีเรีย ยีสต์ และราทั้งหมด ด้วยวิธีนับจำนวนจุลินทรีย์มาตรฐาน (Standard plate count) โดยใช้เทคนิค Pour plate และ Spread plate บนอาหารแข็ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ และร้อยละเปรียบเทียกับเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารพร้อมบริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 ผลการศึกษาพบว่า อาหารที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ 19 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 31.67 โดยเป็นขนนจีนที่มีปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดเกินเกณฑ์มาตรฐาน (มากกว่า 1X106 CFU/กรัม) จำนวน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.33 และขนมจีนที่มีปริมาณยีสต์และราเกินเกณฑ์มาตรฐาน (มากกว่า 1X104 และ 500 CFU/กรัม ตามลำดับ) จำนวน 17 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 28.33 ดังนั้นขนมจีนในตลาดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ควรปรับปรุงคุณภาพให้ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
References
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2550). ข้อบัญญัติของมาตรฐานอาหารกรุงเทพมหานคร.กระทรวงสาธารณสุข. 3 (4): 5-8.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2553). ข้อกำหนดของมาตรฐานอาหารและน้ำที่ปลอดภัย.กระทรวงสาธารณสุข. 5 (2): 4-6.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2560). เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร. กระทรวงสาธารณสุข. บริษัทพีทู ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท, นนทบุรี.
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2556). การเฝ้าระวังผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ กระทรวงสาธารณสุข. 4 (5): 7-9.
กองสุขาภิบาล. (2554). การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอาหารพร้อมบริโภค. กองสุขาภิบาล.7(3): 6-8.
คมศักดิ์ สุมังเกษตร, ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และกิตติพล เกศมณี. (2556). การสำรวจผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริโภคขนมจีน. กรุงเทพฯ: ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
นงลักษณ์ พิลาลัย. (2547). แบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับโรค (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: Noble Print.
นันทนา แก้วตา. (2556). น้ำยาขนมจีน. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพมหานคร.
บุญเลี้ยง สุพิมพ์. (2560). คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของอาหารปรุงสำเร็จที่จำหน่ายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เลย: วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
บุษกร พรมพล, กมล จันแจ่ม และจตุพร ยิ้มแย้ม. (2554). คุณภาพทางจุลชีววิทยาของเต้าคั่วที่จำหน่ายในอำเภอป่าพะยอมและเมืองจังหวัดพัทลุง ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 20 (3): 133-140.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิม, สุปัญญา ไชยชาญ และสุพรัตน์ ทิพยเศวต. (2551). การเสื่อมเสียของอาหารเชียงใหม่: ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลลิตา คำจันทร์. (2558). การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในตัวอย่างอาหาร. สงขลา: ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลา.
สิริพันธุ์ ศรีสิทธิ์. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุดชฎา วงษา. (2547). การตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา. สุราษฎร์ธานี: วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สุมาลี เหลืองสกุล. (2540). คู่มือปฏิบัติการจุลชีววิทยาทางอาหาร. ชัยเจริญ. กรุงเทพฯ.
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. (2553). เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [Online] http://dmsclibrary.moph.go.th/ebooks/files/micro-ISBN60.pdf [3 มีนาคม 2562].
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2552). ปัจจัยภายในเป็นปัจจัยภายในเนื้ออาหารที่มีผลต่อการ เจริญของจุลินทรีย์ ฉบับที่ 4 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [Online] http://food.fda.moph.go.th/law/command_fda.php [3 มีนาคม 2562].
สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2555). โรคติดเชื้อทางอาหาร ฉบับที่ 5
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. [Online] httph://smd.wu.ac.th>uploads.>2017/12 [3 มีนาคม 2562].