การประเมินกิจกรรมการต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดต้นก้นครกต่อเชื้อ Klebsiella pneumoniae TISTR 1383 ในหลอดทดลอง

ผู้แต่ง

  • สุรชัย รัตนสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://orcid.org/0000-0002-8558-7538
  • นภศูล ศิริจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • รุจิเรข บุญกาพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • เดือนเพ็ญ วงค์สอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • นิตยา ปิติวิทยากุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

สารสกัดต้นก้นครก, กิจกรรมการต้านเชื้อแบคทีเรีย, เคลบเซลลา นิวโมเนีย, ความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ, ค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินกิจกรรมการต้านเชื้อ Klebsiella pneumoniae จากสารสกัดต้นก้นครกที่สกัดด้วยเมทานอล เอทิลอะซิเตต เฮกเซน เอทานอล และไดคลอโรมีเทน การทดสอบกิจกรรมการต้านเชื้อ K. pneumoniae เบื้องต้นด้วยเทคนิค Agar disc diffusion การทดสอบหาค่าความเข้มข้นของสารสกัดต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) และค่าความเข้มข้นของสารสกัดต่ำที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อ (MBC) ของสารสกัดด้วยวิธี Broth microdilution ผลการศึกษา Agar disc diffusion พบว่าลำต้นก้นครกที่สกัดด้วยเมทานอลและเอทานอลมีเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนยับยั้งกว้างที่สุดเท่ากับ 0.7 เซนติเมตร ผลการศึกษาการหาค่า MIC และ MBC พบว่าในสารสกัดลำต้นก้นครกที่สกัดด้วยเมทานอลโดยมีค่า MIC ต่ำสุดเท่ากับ 0.195 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และมีค่า MBC ต่ำสุดเท่ากับ 3.125 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร การรายงานครั้งนี้เป็นการรายงานครั้งแรกที่ได้แสดงถึงประสิทธิภาพของสารสกัดจากลำต้นก้นครกที่สามารถบยับยั้งและทำลายเชื้อ K. pneumoniae ที่เป็นแบคทีเรียกลุ่มเชื้อดื้อยาที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตในผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล อีกทั้งยังสามารถพัฒนาสู่การพัฒนาตำรับยาสมุนไพรและพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมเพื่อผลิตยาที่ใช้ในการควบคุมการติดเชื้อจาก K. pneumoniae ได้

Author Biographies

สุรชัย รัตนสุข, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

นภศูล ศิริจันทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

รุจิเรข บุญกาพิมพ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

เดือนเพ็ญ วงค์สอน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

โครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี สถาบันสหสรรพศาสตร์

นิตยา ปิติวิทยากุล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

โครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี สถาบันสหสรรพศาสตร์

References

Adeosun, I. J., Baloyi, I. T., & Cosa, S. (2022). Anti-Biofilm and Associated Anti-Virulence Activities of Selected Phytochemical Compounds against Klebsiella pneumoniaee. Plants, 11(11), 1429.

Boongapim, R., Ponyaim, D., Phiwthong, T., & Rattanasuk, S. (2021). In vitro Antibacterial Activity of Capparis sepiaria L. Against Human Pathogenic Bacteria. Asian Journal of Plant Sciences, 20, 102-108.

de Paula Ramos, L., Pereira, T. C., dos Santos Oliveira, M., de Sá Assis, M. A., Amaral, S. S., Figueira, L. W., Romangnoli, A., Oliveira, F. E., Santos, C. E. R., & dos Santos, J. M. T. (2021). Antibiofilm activity of glycolic plant extracts on Klebsiella pneumoniaee clinical isolates. Research, Society and Development, 10(12), e240101220270-e240101220270.

Effah, C. Y., Sun, T., Liu, S., & Wu, Y. (2020). Klebsiella pneumoniaee: an increasing threat to public health. Annals of Clinical Microbiology and Antimicrobials, 19(1), 1-9.

Faizi, S., Khan, R. A., Azher, S., Khan, S. A., Tauseef, S., & Ahmad, A. (2003). New antimicrobial alkaloids from the roots of Polyalthia longifolia var. pendula. Planta Medica, 69(04), 350-355.

Karnmongkol, C., Rattanavichai, W., Wiriyaumpaiwong, P., Srisamoot, N. & Tankrathok, A. (2019). Characterization of drug resistance Klebsiella pneumoniaee isolated from frog culture pond in Kalasin Province. KHON KAEN AGR. J. 47 SUPPL. 2, 455-460. (In Thai)

Medthai. (2022). Polyalthia debilis Finet & Gagnep. Retrieved from https://medthai.com/กล้วยเต่า/

Muraya, A., Kyany’a, C., Kiyaga, S., Smith, H. J., Kibet, C., Martin, M. J., Kimani, J., & Musila, L. (2022). Antimicrobial Resistance and Virulence Characteristics of Klebsiella pneumoniaee Isolates in Kenya by Whole-Genome Sequencing. Pathogens, 11(5), 545.

Noitachang, W., Prachayasittikul, V. & Lawung, R. (2020). Situation Analysis of Carbapenem-Resistant Klebsiella pneumoniaee in Uttaradit Hospital Between 2015 and 2017. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 14(1), 01-09.

Ponnusamy, S., Gnanaraj, W. E., Marimuthu, J., Selvakumar, V., & Nelson, J. (2010). The effect of leaves extracts of Clitoria ternatea Linn against the fish pathogens. Asian Pacific Journal of Tropical Medicine, 3(9), 723-726.

Prachayasittikul, S., Manam, P., Chinworrungsee, M., Isarankura-Na-Ayudhya, C., Ruchirawat, S., & Prachayasittikul, V. (2009). Bioactive Azafluorenone Alkaloids from Polyalthia debilis (Pierre) Finet & Gagnep. Molecules, 14(11), 4414-4424.

Rattanasuk, S., Boongapim, R., Phiwthong, T., Phuangsriken, S., & Putthanachote, N. (2021). Antibacterial Profile of Cissus quadrangularis Extracts Against Antibiotic-Resistant Bacteria Isolated from Roi Et Hospital. International Journal of Pharmacology, 17(2), 97-102.

Rattanasuk, S., Kajangjai, J., Sonsena, N., and Junsongduang, A. (2021). In vitro antipathogenic bacterial and antioxidant activity of Thunbergia laurifolia Lindl. leaves extract. Journal of Roi Et Rajabhat University: Science and Technology, 2(2), 8-12. (In Thai)

Rattanasuk, S., Boongapim, R., & Phiwthong, T. (2021). Antibacterial activity of Cathormion umbellatum. Bangladesh Journal of Pharmacology, 16(3), 91-95.

Rattanasuk, S., & Phiwthong, T. (2021). A New Potential Source of Anti-pathogenic Bacterial Substances from Zamioculcas zamiifolia (Lodd.) Engl. Extracts. Pakistan Journal of Biological Sciences: PJBS, 24(2), 235-240.

Rattanasuk, S., & Phiwthong, T. (2020). Evaluation of the Antibacterial Activity of Spathiphyllum wallisii Extracts Against Human Pathogenic Bacteria. Pakistan Journal of Biological Sciences: PJBS, 23(11), 1436-1441.

Tuama, A. A., & Mohammed, A. A. (2019). Phytochemical screening and in vitro antibacterial and anticancer activities of the aqueous extract of Cucumis sativus. Saudi Journal of Biological Sciences, 26(3), 600-604.

Likitsuntonwong, W., Ampawong, S., Singha, O., Ketjareon, T., Panavechkijkul, Y. & Kengkoom. K. (2022). The occurrence of Klebsiella pneumoniaee infection in ICR mice. Retrieved from https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/KUCON/search_detail/dowload_digital_file/12012/101506

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite

รัตนสุข ส. ., ศิริจันทร์ น., บุญกาพิมพ์ ร., วงค์สอน เ., & ปิติวิทยากุล น. (2022). การประเมินกิจกรรมการต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดต้นก้นครกต่อเชื้อ Klebsiella pneumoniae TISTR 1383 ในหลอดทดลอง. SciTech Research Journal, 5(2), 1–9. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jstrmu/article/view/247357