การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat บริเวณพื้นที่ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วีระภาส คุณรัตนสิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทิพย์วิมล บุญฤทธิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จุฑามาศ ศรีคงรักษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การรับรู้ระยะไกล, การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน, ดาวเทียม Landsat 7, ดาวเทียม Landsat 9

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat บริเวณพื้นที่ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2565 โดยใช้เทคนิคการแปลตีความข้อมูลด้วยสายตา ผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2545 พื้นที่ป่าไม้จำนวน 236,626.28 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 89.65 พื้นที่เกษตรกรรมจำนวน 23,621.42 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.95 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างจำนวน 2,757.22 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.04 พื้นที่เบ็ดเตล็ดจำนวน 843.35 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.32 และพื้นที่แหล่งน้ำจำนวน 102.41 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.04 ในปี พ.ศ. 2565 พบว่า พื้นที่ป่าไม้จำนวน 218,811.74 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 82.90 พื้นที่เกษตรกรรมจำนวน 33,694.83 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.77 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างจำนวน 2,586.22 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.98 พื้นที่เบ็ดเตล็ดจำนวน 8,751.44 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.31 และพื้นที่แหล่งน้ำจำนวน 106.45 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.04 พื้นที่การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งสิ้น 35,971.03 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.63 ของพื้นที่ทั้งหมด พบว่า พื้นที่ป่าไม้ มีพื้นที่ลดลงมากที่สุด 17,814.53 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 49.52 ของพื้นที่การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด และพื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด 10,073.40 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.00 ของพื้นที่การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด

Author Biographies

วีระภาส คุณรัตนสิริ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์

ทิพย์วิมล บุญฤทธิ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์

จุฑามาศ ศรีคงรักษ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์

References

Anderson, J. R. (1971). Land use classification schemes used in selected recent geographic applications of remote sensing. Photogrammetric Engineering, 37(4), 379-387.

Chuchip, K. (2020). Remote sensing of basic course materials of geographic information. Course Management Guidance Committee 01349311 and 01349312 Kasetsart University, Bangkok. [in Thai]

Congalton, R. G. & K. Green. (1999). Assessing the Accuracy of Remotely Sensed Data: Principles and Practices. Lewis Publishers, United States.

Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization). (2009). Space Technology and GEO-informatics. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. [in Thai]

Jantawat, S. (1981). Principles of land use. Department of Soil Science, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok. [in Thai]

Khunrattanasiri, W. (2020). Satellite Imagery for Forest Resource Survey. Department of Forest Management, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok. [in Thai]

Ministry of Natural Resources and Environment. (2013). Practice guide of aerial photography translation of the Subcommittee on Aerial Photography Reading. Public Land Solve The Invasion Problem Bureau, Bangkok. [in Thai]

Pongput, N. (2015). The Effect of Land Use Changes on Landslide in Klong Khram Watershed, Surat Thani Province. Kasetsart University, Bangkok. [in Thai]

Sangawongse, S. (2009). Remote sensing for land-use/land-cover monitoring and application. 1st ed., Bangkok: Chulalongkorn University press. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

How to Cite

คุณรัตนสิริ ว., บุญฤทธิ์ ท., & ศรีคงรักษ์ จ. (2023). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat บริเวณพื้นที่ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. SciTech Research Journal, 6(2), 21–33. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jstrmu/article/view/249256