ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ธรรมาภิบาล, ประสิทธิผลองค์การ, สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ธรรมาธิบาล และประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ธรรมาธิบาลและประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ธรรมาธิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,674 คน จาก 221 เขตพื้นที่การศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ระดับความสัมพันธ์และระดับอิทธิพลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระดับธรรมาธิบาลและระดับประสิทธิผลของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยแต่ละด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยธรรมาธิบาลและประสิทธิผลของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสัมพันธ์ เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงบวกใน ระดับต่ำ ต่อประสิทธิผลของสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างไม่มีนัยสำ คัญทางสถิติ (=0.149, p >.05) และธรรมาภิบาลมีอิทธิพลเชิงบวกในระดับสูงมากต่อประสิทธิผลของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (=0.797, p<.01) และภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาลสามารถร่วมกันทำนายความผันแปรของประสิทธิผลของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาได้ร้อยละ 87.60 (R2 = 0.876) และ 4) ตัวแบบสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า χ2 เท่ากับ 373.405 ค่าดัชนี χ2/df เท่ากับ 3.111 ค่าดัชนี RMSEA เท่ากับ 0.097 ค่าดัชนี CFI เท่ากับ 0.988 ค่าดัชนี NNFI (TLI) เท่ากับ 0.985 และค่า ดัชนี SRMR เท่ากับ 0.027
References
______. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
เกษม วัฒนชัย. (2545). การปฏิรูปการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร : 21 เซ็นจูรี่.
พงษ์เทพ จันทสุวรรณ. (2554) ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร : ตัวแบบสมการโครงสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ดุษฎีบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พงษ์เทพ จันทสุวรรณ เอกรัตน์ ดวงปัญญา ชาญณรงค์ เศวตาภรณ์ และอนงนาฎ ภูมิภักดี. (2555). “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ องค์การแห่งการเรียนรู้และ
ประสิทธิผลของหน่วยงานในสถานีตำรวจนครบาล : การวิเคราะห์เส้นทาง.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา, 1, 17-34.
พรินทร์ เพ็งสุวรรณ .(2548). ธรรมาภิบาลกับประสิทธิภาพการบริหารงานของเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2545). ธรรมาภิบาล การบริหารการปกครองที่โปรงใสด้วยจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : น้ำฝน.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ข้าวฟ่าง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. (2546). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา. ชลบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.
กรุงเทพมหานคร : พรีเมียร์ โปร.
อาภรณ์ รัตน์มณี. (2551). “ทำไมการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า”. สืบค้นวันที่ 14 มิถุนายน 2555. จาก http://school8education.police.go.th.
Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1995). Transformational Leadership Development: Manual for the Multifactor Leadership Questionnaire. Palo Alto, CA:
Consulting Psychologists Press.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.) New Jersey: Prentice hall Inc.
Bollen, K.A. & Long, J.S. (1993). Introduction in K.A. Bollen & L.S. Long . Testing Structural Equation Models. (pp.1-9). Thousand Oaks. CA: Sage Publications, inc.
Brown, W. A. ( 2000) . “ Organization Effectiveness in Nonprofit Human Service Organization : The Influence of the Board of Directors. ” Dissertation Abstracts international B. 60(12): 6403 Available: Proquest UMI; Dissertation Abstracts.
Hu, L., & Bentler, P. M. (1999). “Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives” . Structural
Equation Modeling, 6, 1-55.
Leech, N. L., Barrett, K.C. & Morgan, G.A. (2005). SPSS for Intermediate Statistics: Use and Interpretation. (2nd ed.) Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum.
MacCallum, R. C., Browne, M. W. & Sugawara, H. W. (1996). “Power analysis and determination of sample size for covariance structure modeling. ”
Psychological Methods, 1, 130-149.
Moorhead, Greory, & Griffin, Ricky W. (1995). Organizational Behavior: Managing People and Organizations. (4th ed.) Boston: Houghton Mifflin.
Mott, P. E. (1972). The Characteristic of Efficient Organization. New York: Harper and Raw.
Schermelleh-Engel, K., Moosbrugger, H. & Muller, H. (2003). “Evaluating the Fit of Structural Equation Models : Test of Significance and Descriptive
Goodness-of-Fit Measures.” Methods of Psychological Research Online 2003, 8(2), 23-74.
Wang, L., Fan, X., & Willson, V.L. (1996). “Effects of Nonnormal Data on Parameter Estimates and Fit Indices for a Model with Latent and Manifest Variables
: an Empirical Study.” Structural Equation Modeling, 3(3), 228-247.
Wheaton, B., Muthen, B., Alwin, D., F., & Summers, G. (1977). “Assessing Reliability and Stability in Panel Models. (Determining model fit)” Sociological
Methodology, 8(1), 84-136.
Yukl, G. (1989). Leadership in Organizations. (4th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว