การประยุกต์ใช้แนวคิดมิลค์รันเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง กรณีศึกษา บริษัทตัวแทนจำหน่ายเหล็กเส้น

Main Article Content

อุไรวรรณ วรรณศิริ

Abstract

บทความวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้แนวคิดมิลค์รัน (Milk Run) เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง กรณีศึกษา บริษัทตัวแทนจำหน่ายเหล็กเส้น ซึ่งมาจากปัญหาการแข่งขันธุรกิจด้านการขนส่งทางถนนที่สูงขึ้น โดยงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาระบบการขนส่งสินค้าของบริษัทตัวแทนจำหน่ายเหล็กเส้น 2) ศึกษาประยุกต์ใช้แนวคิดมิลค์รัน (Milk Run) กับบริษัทตัวแทนจำหน่ายเหล็กเส้น วิธีการดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล นำไปสู่การแก้ไขโดยการนำแนวคิดมิลค์รันมาประยุกต์ใช้ เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนก่อนและหลังแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า รอบการขนส่งแบบดั้งเดิมมีจำนวน 10 รอบต่อสัปดาห์ ค่าขนส่งรวมทั้งหมด 75,000 บาทต่อสัปดาห์ เมื่อนำแนวคิดมิลค์รันมาใช้แก้ปัญหาเพื่อการจัดเส้นทางใหม่สำหรับการขนส่ง ทำให้สามารถลดรอบการขนส่งเหลือจำนวน 5 รอบต่อสัปดาห์ ค่าขนส่งรวมทั้งหมดลดลงเหลือ 42,500 บาทต่อสัปดาห์ คิดเป็นอัตราค่าขนส่งที่ลดลง 43.33 % ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
วรรณศิริ อ. (2018). การประยุกต์ใช้แนวคิดมิลค์รันเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง กรณีศึกษา บริษัทตัวแทนจำหน่ายเหล็กเส้น. NKRAFA JOURNAL OF SCIENCE AND TECHNOLOGY, 13, 83–93. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/nkrafa-sct/article/view/142039
Section
Research Articles

References

[1] ธนิต โสรัตน์. การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชุมทอง พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด, 2550.
[2] ประภาศรี พงษ์วัฒนา และคณะ. รายงาน โลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2557 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรม
การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 16 ส.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=3390

[3] รุ่งนภา เดชพรหมรังสี. การศึกษาความพร้อมของธุรกิจให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุก เมื่อเปิดเสรี AEC ในปี พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต].
กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 16 ส.ค.2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mlog.mut.ac.
th/IS/2555/5417510026.pdf

[4] เศรษฐภูมิ เถาชารี และณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์และลดต้นทุนโลจิสติกส์ของ
อุตสาหกรรม SMEs ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2): 124-135, 2558.

[5] ธราธร พชรฐิติกุล, ธนาภรณ์ ตำภู และ วนิดา หมอนพังเทียม.การศึกษาธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ด้านการขนส่งขนาดกลาง และขนาดย่อม. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยี
มหานครปริทัศน์, 6(1): 10-17, 2559.

[6] Google. Google Maps [Internet]. 2016 [cited 2016 Aug 16]. Available from: https://www.google.co.th/maps/@13.6725551,100.5127382,15z?hl

[7] สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 51 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมทางหลวง; 2552
เข้าถึงเมื่อ 16 ส.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.highwayweigh.go.th/home.html

[8] ASTVผู้จัดการออนไลน์. เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้รถบรรทุกห้ามวิ่งเวลาไหนบ้าง? [อินเทอร์เน็ต].
กรุงเทพฯ: ASTVผู้จัดการ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 16 ส.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000143848

[9] ประจักษ์ พรมงาม, ศักดิ์ กองสุวรรณ และ เชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริ. แนวทางพัฒนาลดความล่าช้าในการขนส่งสินค้าปูนซีเมนต์ผง กรณีศึกษา
บริษัท มีนาทรานสปอร์ต จำกัด. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(3): 117-127, 2559.

[10] สุพีรยา งามเลิศ และวีระศักดิ์ ศิริกุล. การศึกษาปัญหาการขนส่งสินค้าล่าช้า และวิธีการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าที่ล่าช้า : กรณีศึกษา บริษัท ABC พลาสเตอร์ จำกัด. วารสารวิชาการการ
ตลาด และการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2(1): 60-74, 2558.

[11] ทิพวรรณ วิริยะสหกิจ. การลดต้นทุนการขนส่ง โดยการศึกษาประยุกต์ใช้การขนส่งแบบมิลค์รัน (Milk Run). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยบูรพา. จังหวัดชลบุรี, 2558.

[12] วิทยา สุหฤทดำรง และยุพา กลอนกลาง. ลอจิสติกส์แบบลีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์, 2550.

[13] อุไรวรรณ วรรณศิริ. การเพิ่มประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งโดยแนวคิดลีน กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตนมเปรี้ยว. วารสารวิชาการนายเรืออากาศ, 12(12): 90-99, 2559.