การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบ TPACK MODEL โดยการใช้การสอนแบบเสมือนจริง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้สื่อเสริมการเรียนรู้แบบเสมือนจริง (Augmented Reality) ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้สื่อเสริมการเรียนรู้เสมือนจริง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้สื่อเสริมการเรียนรู้เสมือนจริง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้สื่อเสริมการเสมือนจริง
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้สื่อเสริมการเรียนรู้แบบเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ หน้าแรก บทเรียน และผู้จัดทำ 2) ประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ TPACK MODEL ด้วยเทคนิคความเป็นจริงเสมือนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 87.33/86.66 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนแบบการแสดงผลภาพเสมือนจริง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
พรรณี ลี้กิจวัฒนะ.(2553). เกณฑ์การประเมิน จาก https://library.kku.ac.th/ulib/dublin.php?ID=16420
รักษพล ธนานุวงศ์.(2553). สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality).กรุงเทพฯ : สสวท.
มนต์ชัย (2546:325) การสร้างและการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ จาก http://www.gits.kmutnb.ac.th/ethesis/data/4720780685.pdf
อนุศร หงษ์ขุนทด.(2558).(ออนไลน์).ความรู้ในวิธีการสอนผนวกเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Knowledge: TPK). [สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2559]. จาก http://pitcforteach.blogspot.com/2015/03/tpack-model.html.