การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานแตงโมที่ตลาดไทยเจริญ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • เพชรายุทธ แซ่หลี Pibulsongkram Rajabhat University
  • หทัยธนก พวงแย้ม
  • วชิระ วิจิตรพงษา

คำสำคัญ:

แตงโม, ห่วงโซ่อุปทาน, ห่วงโซ่คุณค่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาโซ่อุปทานของแตงโมที่ตลาดไทยเจริญ จังหวัดพิษณุโลก โดยการลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูลและสัมภาษณ์เกษตรกร ผู้จัดการตลาดไทยเจริญและผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน แล้วทำการวิเคราะห์ SWOT และวิเคราะห์กิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานแตงโม ผลจาการวิจัยพบว่าการเพาะปลูกแตงโมในพื้นที่ศึกษาเป็นการเพาะปลูกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการทำเกษตรแบบพันธสัญญาระหว่างเกษตรกรและนายทุน แต่ไม่มีการประกันราคา และไม่มีการจัดทำเอกสารข้อตกลง จึงมีความเสี่ยงที่เกษตรกรจะถูกเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนั้นภาครัฐจึงควรเข้าไปกำกับดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบ จากสัญญาที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งเกษตรกรยังประสบปัญหาการเพาะปลูกที่ต้องเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ดังนั้นภาครัฐจึงควรส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเพาะปลูกและการจัดการแปลงด้วย เพื่อให้สามารถเพาะปลูกบนพื้นที่เดิมได้ โดยสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตแก่เกษตรกร นอกจากนี้ภาครัฐควรส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างอำนาจต่อรองแก่เกษตรกรในการซื้อขายผลผลิตและวัตถุดิบในการผลิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30

How to Cite

[1]
แซ่หลี เ., พวงแย้ม ห., และ วิจิตรพงษา ว., “การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานแตงโมที่ตลาดไทยเจริญ จังหวัดพิษณุโลก”, PSRU JITE, ปี 1, ฉบับที่ 2 (2019), น. 64–76, ธ.ค. 2019.