เครื่องโม่วัสดุคอนกรีตเหลือใช้จากอุตสาหกรรมก่อสร้าง
คำสำคัญ:
เครื่องโม่, วัสดุเหลือใช้, อุตสาหกรรมก่อสร้างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครื่องโม่ย่อยวัสดุคอนกรีตที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมก่อสร้างโดยใช้เฟืองบดแบบ 3 ซี่ ความกว้าง 25 เซนติเมตรจุดศูนย์กลางเป็น รูปหกเหลี่ยม กว้าง อย่างละ2.5 นิ้ว กับ 2 นิ้วและใส่เพลา เรียงกันเป็นแถวสลับกันแถวละ 8 ซี่ 2 ด้านรวมเป็น 16 ซี่ ขนาดของมอเตอร์ที่ใช้งานมีกำลังขับ 1/5 แรงม้ากำลังไฟฟ้า 220 โวลต์ (1 เฟส) ความเร็วรอบ 1,450 รอบต่อนาที จากการทดสอบพบว่าเครื่องโม่สามารถย่อยวัสดุที่เหลือใช้จากงานก่อสร้างที่ทำการเลือกมา 3 ชนิด คือ 1. อิฐบล็อก 2. อิฐมอญ และ 3. อิฐตัวหนอน โดยการทดสอบหาประสิทธิภาพนั้นจะทำการบดเศษอิฐที่เหลือใช้จากงานก่อสร้าง ครั้งละ 1 กิโลกรัมทำการทดสอบชนิดละ 5 ครั้ง และนำเศษของวัสดุที่ผ่านการบดมาหาอัตราส่วนมวลรวมรวมโดยนำมาร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 4 และเบอร์ 8 เพื่อหาอัตราส่วนร้อยละของมวลรวมโดยน้ำหนัก ผลการทดสอบพบว่า การบดเศษอิฐบล็อกที่ผ่านที่ทำการบดสามารถร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 4 และเบอร์ 8 วัสดุค้างตะแกรงเบอร์ 4 เท่ากับ 750.30 g คิดเป็นร้อยละ 75.03 ค้างตะแกรงเบอร์ 8 เท่ากับ 132.20 g คิดเป็นร้อยละ 13.22 และค้างถาดเท่ากับ 125.70 g คิดเป็นร้อยละ 12.57 ใช้เวลาในการบด เท่ากับ 12.30 วินาที คิดเป็นบดได้มวลรวมหยาบ ร้อยละ 91.38 และได้มวลรวมละเอียดร้อยละ 8.71 การบดเศษอิฐมอญสามารถร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 4 และเบอร์ 8 ในภาพรวม วัสดุค้างตะแกรงเบอร์ 4 เท่ากับ 913.80 g คิดเป็นร้อยละ 91.38, ค้างตะแกรงเบอร์ 8 เท่ากับ 33.30 g คิดเป็นร้อยละ 3.33 และค้างถาดเท่ากับ 53.84 g คิดเป็นร้อยละ 5.384 ใช้เวลาในการบด เท่ากับ 13.32 วินาที คิดเป็นบดได้มวลรวมหยาบ ร้อยละ 91.38 และได้มวลรวมละเอียดร้อยละ 8.71 การบดเศษตัวหนอนสามารถร่อนร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 4 และเบอร์ 8 ในภาพรวม วัสดุค้างตะแกรงเบอร์ 4 เท่ากับ 727.00g คิดเป็นร้อยละ72.70 ค้างตะแกรงเบอร์ 8 เท่ากับ 123.30g คิดเป็นร้อยละ 12.33 และค้างถาดเท่ากับ 128.6g คิดเป็นร้อยละ 12.86 ใช้เวลาในการบด เท่ากับ 13.55 วินาที คิดเป็นบดได้มวลรวมหยาบ ร้อยละ 72.70 และได้มวลรวมละเอียดร้อยละ 25.19