การแก้ปัญหาการจัดตารางการผลิตด้วยวิธีแบบจำลองกำหนดการเชิงคณิตศาสตร์ กรณีศึกษาสถานประกอบการ ผลิตชิ้นส่วนรถบรรทุกในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒย์ คำพรมมี
  • สุทธิพงษ์ ครุฑพาหะ ครุฑพาหะ
  • ณัฐพร ตั้งเจริญชัย ตั้งเจริญชัย
  • สุกฤษฏิ์ เพชรสวัสดิ์
  • ธัชชัย เทพกรณ์

คำสำคัญ:

แผนผังเวลาปิดงาน, แบบจำลองกำหนดการเชิงคณิตศาสตร์, จุดเหมาะสม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ปัญหาการจัดตารางการผลิตให้กับสถานประกอบการผลิตชิ้นส่วนรถบรรทุกแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลกด้วยวิธีการสร้างแบบจำลองกำหนดการเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical programming model) โดยให้เกิดเวลาปิดงาน (Makespan) น้อยที่สุด ข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า ข้อมูลผลิตภัณฑ์และเครื่องจักร รวมถึงข้อบังคับและข้อจำกัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะถูกเก็บรวบรวมและนำมาสร้างเป็นข้อมูลโจทย์ปัญหาของสถานประกอบการกรณีศึกษา จากนั้นทำการพัฒนาแบบจำลองกำหนดการเชิงคณิตศาสตร์ของปัญหาดังกล่าวขึ้นมาและประยุกต์ใช้โปรแกรม Solver ซึ่งเป็นส่วนเสริม (Add-in) ในโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กซ์เซล (Microsoft excel) เข้ามาใช้ในการค้นหาตารางการผลิตที่เหมาะสมที่สุด ผลการทดลองพบว่า แบบจำลองกำหนดการเชิงคณิตศาสตร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสามารถสร้างตารางการผลิตที่เหมาะสมที่สุดได้ในทุกโจทย์ปัญหาภายในระยะเวลาที่ยอมรับได้ อีกทั้งคำตอบดังกล่าวยังสามารถลดการใช้งานเครื่องจักรโดยไม่จำเป็นได้ถึง 29 เปอร์เซ็นต์ในหลายโจทย์ปัญหา นอกจากนี้ตารางการผลิตที่เหมาะสมที่สุดของสถานประกอบการกรณีศึกษาจะได้เวลาปิดงานที่น้อยที่สุดเท่ากับ 4,678.90 นาที ซึ่งดีกว่าเวลาในการปิดงานรวมที่ได้จากตารางการผลิตเดิมของสถานประกอบการกรณีศึกษา 36.48 เปอร์เซ็นต์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30

How to Cite

[1]
คำพรมมี ธ., ครุฑพาหะ ส. ค., ตั้งเจริญชัย ณ. ต., เพชรสวัสดิ์ ส., และ เทพกรณ์ ธ., “การแก้ปัญหาการจัดตารางการผลิตด้วยวิธีแบบจำลองกำหนดการเชิงคณิตศาสตร์ กรณีศึกษาสถานประกอบการ ผลิตชิ้นส่วนรถบรรทุกในจังหวัดพิษณุโลก”, PSRU JITE, ปี 1, ฉบับที่ 3 (2019), น. 47–66, ธ.ค. 2019.