การศึกษาพื้นผิวฟิล์มบางอินเดียมทินออกไซด์ บนแผ่นซิลิกอนจากแรงดันไฟฟ้าในการสปาร์ค

ผู้แต่ง

  • ณัฐที ถึงสุข
  • ทวีศักดิ์ ตันอร่าม
  • บัญชา คุณาเลา
  • ธีรวุฒิ แสวงบุญ
  • อัครกิตติ์ ไชยธนกุลวัฒน์

คำสำคัญ:

ฟิล์มบาง, อินเดียมและดีบุก, เทคนิคการสปาร์ค, กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

บทคัดย่อ

การสร้างฟิล์มบางด้วยเทคนิคการสปาร์คมีต้นทุนที่ต่ำ สำหรับหลักการคือการใช้สองขั้วไฟฟ้าแรงสูงทำการสปาร์คเพื่อให้ไอระเหยของอินเดียมและดีบุกจากลวดตกลงสู่พื้นผิวของแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนทางด้านล่าง โดยในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสมบัติของฟิล์มบางอินเดียมทินออกไซด์บนแผ่นซิลิกอนจากแรงดันไฟฟ้าในการสปาร์คที่ 4 kV, 7 kV และ 10 kV ฟิล์มบางอินเดียมทินออกไซด์ที่ถูกอบที่อุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 180 นาทีและได้รับการตรวจสอบพื้นผิวโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดร่วมกับเทคนิคการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ (SEM/EDS) ซึ่งพบว่าพื้นผิวของฟิล์มบางอินเดียมทินออกไซด์เป็นลักษณะเป็นแบบอะมอร์ฟัส (Amorphous) เมื่อใช้แรงดันไฟฟ้าที่ 7 kV และ 10 kV อย่างไรก็ตามสามารถยืนยันได้ว่าที่แรงดันไฟฟ้า 4 kV ไม่สามารถพบลักษณะเฉพาะของฟิล์มได้แต่อย่างใด นอกจากนั้นที่แรงดันไฟฟ้าในการสปาร์คที่สูงขึ้นได้ส่งผลให้ฟิล์มที่ได้มีลักษณะที่สม่ำเสมอมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-03

How to Cite

[1]
ถึงสุข ณ., ตันอร่าม ท., คุณาเลา บ., แสวงบุญ ธ., และ ไชยธนกุลวัฒน์ อ. . ., “การศึกษาพื้นผิวฟิล์มบางอินเดียมทินออกไซด์ บนแผ่นซิลิกอนจากแรงดันไฟฟ้าในการสปาร์ค”, PSRU JITE, ปี 2, ฉบับที่ 1 (2020), น. 1–8, เม.ย. 2020.