การศึกษาลักษณะทางกายภาพของภาชนะจากธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • นธีทร ม่วงเอี่ยม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พัฒนพงษ์ เพชรโต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พิษณุ ชาวพิจิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปิยณัฐ ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ภาชนะจากธรรมชาติ, การอัดร้อนขึ้นรูป, ใบตอง

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของภาชนะใบตองหลังการอัดร้อนขึ้นรูป โดยใช้แม่พิมพ์รูปถ้วยที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 7.6 cm ความลึก 3 cm ความร้อนในการขึ้นรูปเท่ากับ 75 85 และ 95 ̊C ใช้เวลาในการอัดขึ้นรูปเท่ากับ 1 3 และ 5 นาที ผ่านการอัดแบบไฮดรอลิก ใบตองที่นำมาใช้ในการอัดขึ้นรูปร้อนจะมีจำนวนเท่ากับ 2 3 และ 4 ชั้น ตามลำดับ การวิเคราะห์ผลจะใช้การเปรียบเทียบรูปทรง และความแข็งแรงของภาชนะ เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบแต่ละเงื่อนไข จากการทดลองพบว่าการเพิ่มอุณหภูมิในการอัดขึ้นรูปจะทำให้ภาชนะมีรูปทรงสวยงามใกล้เคียงกับแม่พิมพ์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากความร้อนจากแม่พิมพ์ช่วยให้ใบตองมีความอ่อนตัวและสามารถขึ้นรูปได้ง่ายขึ้น ในทำนองเดียวกันการเพิ่มเวลาในการอัดขึ้นรูปจะทำให้ใบตองมีเวลาในการคงรูปเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้รูปทรงของภาชนะมีความสวยงาม สำหรับการเพิ่มจำนวนชั้นของใบตองจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของภาชนะ เพราะความหนาที่เพิ่มขึ้นจะแปรผันตรงกับความแข็งแรงของภาชนะ ในอนาคตงานวิจัยนี้จะถูกพัฒนาให้มีความเหมาะสมต่อการนำไปประยุกต์ใช้งานในเชิงพานิชย์ยิ่งขึ้น

งขึ้นการใช้งาน

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2562), สถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2562. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://gnews.apps.go.th/news?news=53637. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2563). วิกฤตขยะพลาสติก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://stang.sc.mahidol.ac.th/lib-Infographic/plastic-waste.php. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563.

ณัชชา สินเทาว์, พิมพ์ลดา ทองประทีป และ วศินี ดอกไม้จีน. (2562). ชามกาบกล้วย. (สหกิจศึกษา). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

ทศพล วิโรทุศ, วุฒิชัย ใจงาม, ณัฐธิดา บุญยก และ สุรศักดิ์ ดาวหาญ. (2562). เครื่องอัดถ้วยกระทงวัสดุธรรมชาติ. (รายงานผลโครงการวิจัย). วิทยาลัยการอาชีพสอง อาชีวศึกษาจังหวัดแพร่, แพร่.

นภดล จันทรลักษณ์ และ สมนึก วัฒนศรียกุล. (2555). การออกแบบและสร้างเครื่องขึ้นรูปภาชนะที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ. การประชุมเครือข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, ชะอำ, เพชรบุรี.

ภัทรพงศ์ แหล่งไธสง, ณรงค์ พลสงบ, วีระศักดิ์ วุฒิวงค์ และ ศรายุธ ดนตรี. (ม.ป.ป.). เครื่องอัดขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://blog.bru.ac.th. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562.

มนตรี สอนสืบ. (2551). ผลของอุณหภูมิและความดันต่อสมบัติเชิงกลในการขึ้นรูปใบตอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

มลสุดา ลิวไธสง (2556). การผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากกาบกล้วย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

สมเกียรติ สุทธิยาพิวัฒน์ และ ธมยันตี ประยุรพันธ์. (2562). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่นำสู่ความเข็มแข็งของชุมชนและเศาณฐกิจฐานราก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธวาสราชนครินทร์. 12(1). 120-131.

สิทธิกร แก้วราเขียว. (2554). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์อาหารจากชานอ้อยในอำเภอเมืองเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุนทรี เด่นเทศ และ สิริอร อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2557). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์อาหารจากฟางข้าวมที่พัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์. 13 (1), 14-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

How to Cite

[1]
ม่วงเอี่ยม น. ., เพชรโต พ. ., ชาวพิจิตร พ. ., และ ขุนทอง ป., “การศึกษาลักษณะทางกายภาพของภาชนะจากธรรมชาติ”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 1, น. 1–9, เม.ย. 2021.