การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตางค์สำหรับผู้ชาย จากลวดลายอัตลักษณ์ผีตาโขน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา ศิริสานต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • คณิศร กอทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การออกแบบผลิตภัณฑ์, กระเป๋าสตางค์สำหรับผู้ชาย, อัตลักษณ์ผีตาโขน

บทคัดย่อ

     โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบกระเป๋าสตางค์สำหรับผู้ชายจากลวดลายอัตลักษณ์ผีตาโขนและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของการออกแบบกระเป๋าสตางค์สำหรับผู้ชาย จากลวดลายอัตลักษณ์ผีตาโขนจังหวัดเลย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เอกสารตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องรูปแบบผลิตภัณฑ์เดิมโดยตรง นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ท่าน และกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เอกสารตำรา แบบสอบถาม ประกอบกับภาพจำลอง โดยการออกแบบร่างกระเป๋า จำนวน 3 แบบ เพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุด ตามความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริโภคเพียง 1 รูปแบบเพื่อวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการวิเคราะห์ ดังนี้ ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อรูปแบบ A ซึ่งตัดทอนลวดลาย มาจากงวงและงาของช้าง ที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของผีตาโขนได้มากที่สุด ลวดลายมีความกลมกลืนเข้ากับรูปแบบของกระเป๋าที่มีีความเหมาะในการใช้งาน และรูปแบบของกระเป๋ามีความทันสมัย ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์ในด้านการสื่อถึงอัตลักษณ์ของผีตาโขน มีค่าเฉลี่ย (x-bar=4.96 S.D.=0.18) มีความเหมาะสมใน ระดับมากที่สุด ในด้านลวดลาย คือ ลวดลายมีความเหมาะสมในการใช้งาน (x-bar=5 S.D.=0) มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด และในด้าน รูปทรงของกระเป๋ารูปทรงมีความเหมาะสมในการใช้มีค่าเฉลี่ย (x-bar=4.96 S.D.=0.18) มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

Author Biography

ปรารถนา ศิริสานต์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

อาจารย์ประจำหลักสูตรออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

References

ทัตพร สกุลรักอรุโณทัย. (2558). พิธีกรรมจากประเพณีผีตาโขนสู่เครื่องประดับร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ไทยโรจน์ พวงมณี. (2554). การศึกษาอัตลักษณ์ประเพณีผีตาโขน ประเพณีผีขนน้ำและประเพณีแห่งต้นดอกไม.้ (รายงานการวิจัย). กระทรวงวัฒนธรรม.

พิมลพรรณ ธนเศรษฐ. (2558). โครงการธุรกิจออกแบบผลิต และจำหน่ายกระเป๋าแฟชั่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

พงศทร พินิจวัฒน์. (2548). ศิลปกรรมท้องถิ่น: กรณีศึกษาหน้ากากผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2550). การออกแบบและพัฒนาแฟชั่นและมัณฑนภัณฑ์. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็น เตอร์.

พรรณณิษา เมืองผุย. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กระเป๋ายี่ห้อชั้นนำของผู้บริโภค เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ภาสวรรณ ธีรอรรถ. (2555). บุคลิกภาพและค่านิยมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

มาลีวรรณ แก้วเขียว. (2558). ประเพณีผีตาโขน: จิตรกรรมสีอะคริลิค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

ศศิพงษ์ ศรีสวัสด, สิริรัตน์ จันทร์มาลา และ ปียกนิษฐ์ สาธารณ. (2558). พัฒนาการหน้ากากและชุดแต่งกายของการละเล่นผีตาโขน ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารพื้นถิ่นโขง ชี มูล, 1(2), 37-66.

อภิสิทธิ์ แสนหาญ. (2561.) ศิลปะถ่ายทอดผ่านหน้ากากผีประเพณีผีตาโขนโซนด่านซ้าย. ค้นจาก http://oer.learn.in.th/search_detail/result/107360

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-05

How to Cite

[1]
ศิริสานต์ ป. และ กอทอง ค. ., “การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตางค์สำหรับผู้ชาย จากลวดลายอัตลักษณ์ผีตาโขน จังหวัดเลย”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 2, น. 124–137, ต.ค. 2021.