การศึกษาการเรียนที่เหมาะสมสำหรับรายวิชาการจัดการโลจิสติกส์และ โซ่อุปทาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
คำสำคัญ:
การบริหารคุณภาพ, โซ่คุณค่า, การวิเคราะห์ SWOTบทคัดย่อ
งานวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนที่เหมะสมสำหรับรายวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่ส่งผลต่อผลการเรียนในบางประการซึ่งรูปแบบงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การเก็บข้อมูลและสำรวจด้วยวิธีการสอบถามโดยใช้แบบสอบถามและการระดมความคิดถึงปัญหา อุปสรรคที่พบในการเรียนการสอน รวมไปถึงวิธีการแก้ไขปัญหาและช่วยกันหาทางออกที่เหมาะสมให้กับปัญหาที่พบในแต่ละปัญหาของรายวิชาจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานของนักศึกษาสาชาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ชั้นปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จากการวิจัยพบว่าปัญหาที่สำคัญในการเรียนการสอนที่นำมาสู่การจัดรูปแบบที่เหมาะสมนี้ คือ การมาเรียนสายของนักศึกษา และกิจกรรมทั้งของคณะและมหาวิทยาลัยมีจำนวนมากจนกระทบต่อการเรียนการสอนของรายวิชาดังกล่าว แต่ทั้งนั้นถึงจะพบปัญหาดังที่กล่าวมา โดยจากการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน (SWOT) พบว่าจุดแข็งของกิจกรรมเหล่านี้คือ นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะทางด้านการสื่อสาร การร่วมมือการทำงาน ความสามัคคี จนทำให้งานที่ได้รับมอบหมายประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นการจัดรูปแบบที่เหมาะสมของการเรียนการสอนวิชานี้คือ มีการเช็คชื่อตอนเข้าเรียนเพียงครั้งเดียว มีการให้คะแนนจิตพิสัยเพิ่มเติม และต้องบอกถึงกิจกรรมที่จะมาถึงล่วงหน้าประมาณ 2 อาทิตย์และอาจารย์ต้องแจ้งกับนักศึกษาว่าคาบใด และวันใดมีการเลื่อนและการชดเชยเวลาในวันและเวลาดังกล่าวด้วย
References
กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2563ก). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กองวิจัยการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538). หลักการแนวคิดและรูปแบบที่เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน". เส้นทางสู่การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธ การพิมพ์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อลงกรณ์ เมืองไหว. (2557). การบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในงานอุตสาหกรรม. (เอกสารประกอบการสอน). สาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.