การพยากรณ์ความต้องการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน กรณีศึกษา คลังพัสดุทางการแพทย์โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อลงกรณ์ เมืองไหว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธณิดา โขนงนุช มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, สินค้าคงคลัง, กาการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน, วิเคราะห์สาเหตุและผล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มความต้องการการใช้ทรัพยากรของคลังพัสดุทางการแพทย์ โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ ข้อมูลการใช้พัสดุของคลังพัสดุทางการแพทย์ที่มีความต้องการใช้มากที่สุดใน 100 รายการแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 เพื่อคาดการณ์แนวโน้มการใช้พัสดุทางการแพทย์ในเดือน ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้วิธีเทคนิคการพยากรณ์พื้นฐาน 4 รูปแบบ ได้แก่ Last     period demand (LPD), Arithmetic average (AA), Moving average (MA), และ Exponential Smoothing และเปรียบเทียบทั้ง 4 รูปแบบเพื่อหาเทคนิคในการพยากรณ์พื้นฐานที่เหมาะสมที่สุด และในงานวิจัยนี้ยังได้ใช้วิธีการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน กับการวิเคราะห์สาเหตุและผลเพื่อหาปัญหาที่เกิดขึ้นในคลังพัสดุทางการแพทย์ให้กับพนักงานด้วย ดังนั้นจากผลการวิจัยที่ได้ทำให้เกิดการคาดการณ์แนวโน้มการใช้พัสดุทางการแพทย์ในเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2563 ด้วยเทคนิคที่เหมาะสมที่สุด โดยคาดว่ามีการใช้พัสดุทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้เป็นทางเลือกในการสั่งซื้อและจัดเก็บพัสดุทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

References

จิรวัฒน์ จางพานิชย์ (2555). การพยากรณ์การใช้ทรัพยากรสำนักงานของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

วรางคณา กีรติวิบูลย์ (2556). การสร้างตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับราคาขายปลีกรายวัน ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. 36(4), 423-438.

อรรคพล เซี่ยงโหล (2552). การพยากรณ์ปริมาณยอดขายของบริษัทผู้ผลิตรถกระบะแห่งหนึ่งในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อุทิศ ขาวเธียร (2546). การวางแผนกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

Gryna, F.M., Chua, R.C.H., & De feo, J.A. (2007). Juran’s Quality Planning and Analysis. (5th edition). Boston: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02

How to Cite

[1]
เมืองไหว อ. . และ โขนงนุช ธ. ., “การพยากรณ์ความต้องการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน กรณีศึกษา คลังพัสดุทางการแพทย์โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 1, น. 68–79, ส.ค. 2021.