การพัฒนาเนื้อดินปั้นเอิทเท่นแวร์ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่มีความเหมาะสมกับการยับยั้งการระเหยของน้ำในกระถางปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ
คำสำคัญ:
เนื้อดินปั้นเอิทเท่นแวร์, การยับยั้ง, การระเหยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลเนื้อดินจำนวน 11 อำเภอ จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาทดลองหาประสิทธิภาพเนื้อดินจำนวน 11 อำเภอจังหวัดกำแพงเพชร 3) เพื่อประเมินผลผู้ใช้ผลิตภัณฑ์รูปทรงกลมไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 11 อำเภอ จังหวัดกำแพงเพชร 4) เพื่อถ่ายทอดกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาทรงกลม ที่นำมาใช้ในการยับยั้งการระเหยของน้ำสำหรับใช้กับไม้ดอก ไม้ประดับ ที่ปลูกในกระถาง จำนวน 11 อำเภอ จังหวัดกำแพงเพชร ผู้วืจัยมีได้ศึกษาวัตถุดิบของดินเหนียวและทำการทดลองโดยใช้วิธีการโค้งงอ เพื่อทดสอบการหดตัว ความเหนียว ผลวิจัยพบว่า แหล่งดินเหนียวท้องถิ่น จำนวน 11 อำเภอ ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่มีคุณสมบัติเป็นกรด คือ สารประกอบซิลิกามากสุด คือ ดินเหนียวพรานกระต่าย ร้อยละ 96.80 รองลงมา ดินเหนียวทรายทองวัฒนาร้อยละ 63.12 และดินเหนียวทุ่งเศรษฐี ร้อยละ 63.10 และคุณสมบัติเป็นกลาง ที่มีารประกอบอลูมินามากที่สุด คือ ดินเหนียวคลองขลุง ร้อยละ 27.01 ดินเหนียวลานกระบือ ร้อยละ 24.70 และดินเหนียวทุ่งเศรษฐี ร้อยละ 21.52 และคุณสมบัติเป็นด่าง ที่มีสารประกอบโพแทสเซียมมากที่สุด คือ ดินเหนียวปางศิลาทอง ร้อยละ 9.10 ดินเหนียว ไทรงาม ร้อยละ 6.46 และดินเหนียวบึงสามัคคีร้อยละ 5.89 ส่วนคุณสมบัติทางกายภาพ ด้านการหดตัวมากที่สุด คือ ดินเหนียวบึงสามัคคี ร้อยละ 9.41 รองลงมา คือ ดินเหนียวลานกระบือร้อยละ 8.82 และดินเหนียวโกสัมพีนคร ร้อยละ 6.47 ค่าการดูดซึมน้ำมากที่สุด คือ ดินเหนียว บึงสามัคคี ร้อยละ 21.21 รองลงมา คือ ดินเหนียวไทรงาม ดินเหนียวลานกระบือ ดินเหนียวทรายทองพัฒนาร้อยละ 20.00 และค่าความแข็งแรงมากที่สุด คือ ดินเหนียวพรานกระต่าย 202.00 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร รองลงมา คือ ดินเหนียวโกสัมพีนคร 151.85 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และดินเหนียวทุ่งเศรษฐี 98.30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สำหรับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์รูปทรงกลม มีความต้องการมากที่สุด มีค่า ( = 4.59, S.D. 0.48) และการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความก้าวหน้า ร้อยละ 32.31 และ มีค่า (S.D.=19.58) มีค่า (t-test = 34.66) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จีรพันธ์ สมประสงค์. (2535). เทคนิคการสร้างสรรค์ศิลปะเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชญา โชติช่วง และกันต์ อินทุวงศ์. (2556). การถ่ายทอดเทคโนโลยีส่วนผสมของวัสดุในท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อ. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 15(1), 9-15.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วัชระ วชิรภัทรกุล, ปราโมทย์ ปิ่นสกุล, วีระ เนตราทิพย์, กฤษดากร เชื่อมกลาง และพนิช สมสะอาด. (2557). การพัฒนาเนื้อดินและน้ำเคลือบอุณหภูมิต่ำจากผงหินบะซอลต์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิกส์. (โครงการ). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก. (2559). รายงานผลการวิเคราะห์ดินเหนียวทุ่งหลวง. ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, ลำปาง.
สมจิต บัวจันทร์. (2559, มกราคม ). เจ้าของร้านจำหน่ายดอกไม้ ดอกไม้ประดับ (สัมภาษณ์).
สุจิรา ร่มโพธิ์, อายุวัฒน์ สว่างผล และกันต์ อินทุวงศ์. (2553). การศึกษาอัตราส่วนผสมของวัตถุดิบสำหรับนำมาใช้ในงานประติมากรรม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(12), 132-143.
John, D. (1974). Pottery Making: A Complete guide (1st ed.). Michigan: Viking Press.
Rhodes, D. (1972). Clay and Glaze for the Potter (4th ed). Pensylvania: Pitman Publising.
Singer, F., & Sonja, S. (1963). Industrial Ceramic. New York: Chemical Publishing.