การอบแห้งสมุนไพรด้วยระบบสุญญากาศร่วมกับ รังสีอินฟราเรดและอากาศร้อน

ผู้แต่ง

  • ศรีมา แจ้คำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • เอกภูมิ บุญธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การอบแห้ง, สุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรด, สมุนไพร

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบการอบแห้งสมุนไพรด้วยเครื่องอบแห้งสุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรดไกลและอากาศร้อน โดยทดลองอบแห้งใบมะกรูดและข่าจากความชื้นเริ่มต้น 170 %d.b และ 820 %d.b ตามลำดับ จนได้ความชื้นสุดท้ายประมาณ 5 %d.b ควบคุมความดันสุญญากาศ 5 kPa และ 15 kPa อุณหภูมิควบคุมภายในห้องอบ 45˚C และ 55˚C สำหรับการอบแห้งแบบลมร้อนควบคุมอุณหภุมิที่ 45˚C และ 55˚C. จากการทดลองพบว่าการอบแห้งสมุนไพรที่ความดัน 5 kPa อุณหภูมิควบคุม 55˚C ใช้เวลาในการอบแห้งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการอบแห้งแบบลมร้อน ผลของความดันและอุณหภูมิมีต่อการอบแห้งที่ความดันต่ำและอุณหภูมิสูงเป็นผลให้เวลาในการอบแห้งลดลง ระบบสุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรดจึงมีอัตราการอบแห้งสูงกว่าการใช้อากาศร้อนที่ความดันบรรยากาศ การอบแห้งข่าที่สภาวะความดัน 15 kPa อุณหภูมิควบคุม 55˚C และการอบแห้งใบมะกรูดที่สภาวะความดัน 15 kPa อุณหภูมิควบคุม 45˚C เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดเมื่อพิจารณาด้านอัตราการอบแห้งและคุณภาพด้านสี ปริมาณน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.0928 % และ
0.7849 % โดยมวล ตามลำดับ

References

กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ และ ศรีมา แจ้คำ (2562). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์การอบแห้งข่าด้วยสุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรด. วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(3), 29-44.

สิทธิชัย รุ่งสว่าง, ศรีมา แจ้คำ, ณรงค์ อึ้งกิมบ้วน และ กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์. (2559). การอบแห้งเห็ดหอมด้วยเทคนิคสุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรด. การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 12. พิษณุโลก, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อำไพศักดิ์ ทีบุญมา และ ศักชัย จงจำ. (2553). การอบแห้งขิงด้วยเทคนิคสุญญากาศร่วมกับอินฟราเรด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 15(2), 76-86.

Association of Official Analytical Chemists. (2000). Official Methods of Analysis.

Janjai, S. (2017). Solar Drying Technology. Nakhon Pathom; Phetkasem Printing Group.

Nathakaranakule, A., Paengkanya, S., & Soponronnarit, S. (2019). Durian chips drying using combined microwave techniques with step-down microwave power input. Food and Bioproducts Processing, 116, 105-117.

Rattanapitigorn, P. (2018). Essential oils from plant extracts and theirs application as

Wang, J., Law, C. L., Nema, P. K., Zhao, J. H., Liu, Z. L., & Deng, Z. L. (2018). Pulsed vacuum drying enhances drying kinetics and quality of lemon slices. Journal of Food Engineering, 224, 129-138.

Xie, L., Mujumdar, A. S., Fang, X. M., Wang, J., Dai, J. W., Du, Z. L., Xiao, H. W., Liu, Y., & Gao, Z. J. (2017). Far-infrared radiation heating assisted pulsed vacuum drying (FIR-PVD) of wolfberry (Lycium barbarum L.): effects on drying kinetics and quality attributes. Food and Bioproducts Processing, 102, 320-331.

antimicrobial agents in food products. Journal of Food Technology, 13(2), 1-10.

Xie, Y., Gao, Z., Liu, Y., & Xiao, H. (2017). Pulsed vacuum drying of rhizoma dioscoreae slices. LWT- Food Science and Technology, 80, 237-249.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

How to Cite

[1]
แจ้คำ ศ. ., วิธินันทกิตต์ ก. ., และ บุญธรรม เ. ., “การอบแห้งสมุนไพรด้วยระบบสุญญากาศร่วมกับ รังสีอินฟราเรดและอากาศร้อน”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 1, น. 32–43, มิ.ย. 2021.