การเพิ่มรายได้ของกลุ่มเกษตรกรมะขามเปรี้ยวยักษ์ จังหวัดพิษณุโลก ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • สรวิศ สอนสารี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เอกภูมิ บุญธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เอกกฤษ แก้วเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วีรวุธ เลพล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • มนตรี วงค์ศิริวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • กฤษฎา อ้นอ้าย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วัชรากร ใจตรง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

มะขามเปรี้ยวยักษ์, เครื่องอบแห้ง, พลังงานแสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มรายได้ของกลุ่มเกษตรกรมะขามเปรี้ยวยักษ์ผ่านกระบวนการบริการวิชาการเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ณ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก (พิกัด ลองจิจูด : 16º50’32” N ละติจูด : 100º41’12” E) โดยการศึกษาแบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการประยุกต์ใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในการอบแห้งมะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่ม ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวจะทำให้ทราบถึงความสามารถในการอบแห้งของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น อุณหภูมิที่เครื่องสามารถทำได้ (อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด และอุณหภูมิเฉลี่ย) นอกจากนี้ยังจะทำให้ทราบถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการอบแห้งเพื่อให้น้ำหนักสุดท้าย (น้ำหนักพร้อมจำหน่าย) ที่จะต้องเหลือเพียงประมาณร้อยละ 50 ของน้ำหนักเริ่มต้น ผลการศึกษาพบว่า เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้ดำเนินการออกแบบและสร้างจะสามารถทำอุณหภูมิในเครื่องอบแห้งได้สูงสุด และต่ำสุด ประมาณ 73.6 °C และ 46.3 °C ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิที่เครื่องทำได้จะอยู่ที่ประมาณ 59.3 °C และในส่วนของระยะเวลาอบแห้งเพื่อให้น้ำหนักสุดท้ายของผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายเหลือร้อยละ 50 ของน้ำหนักเริ่มต้น จะอยู่ที่ประมาณ 5 ชั่วโมง (ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าการอบแห้งแบบปกติที่ใช้วิธีการตากแห้งบนลานกว้างที่จะต้องใช้เวลาประมาณ 2 วัน หรือ 16 ชั่วโมง) ส่วนที่ (2) เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มเกษตรกรมะขามเปรี้ยวยักษ์จากการใช้งานเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ผลการศึกษาพบว่า เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 2 เครื่อง ที่ได้มอบให้กับกลุ่มเกษตรกรผ่านกระบวนการบริการวิชาการนั้น จะสามารถอบแห้งมะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่มได้จำนวน 1,800 kg (น้ำหนักเปียก) หรือ 900 kg (น้ำหนักแห้ง) ต่อรอบการผลิตใน 1 ปี และเมื่อนำมะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่มอบแห้งจำหน่ายจะทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 225,000 บาท ต่อ ปี หรือคิดเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกรณีจัดจำหน่ายมะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่มที่มีราคาขายอยู่ที่ประมาณ 100 บาท/kg อยู่ที่ 45,000 บาท ต่อ ปี นอกจากนี้หากในอนาคตทางกลุ่มเกษตรกรได้มีการปรับปรุงในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเพิ่มรายได้ได้

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2560). ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์. ค้นจากhttps://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=47941&filename=index.

อนุรักษ์ ครองทรัพย์, กิ่งผล โคตรเขื่อน, ฑุลิกา ทิพมาศ และ วารินทร์ เหล่วแซง. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องอบแห้งสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(1), 104–115.

อรุณี ชัยสวัสดิ์, ประวิทย์ เทพนุ้ย, สมหวัง สองห้อง และ ศรัทธา วัฒนธรรม. (2561). ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ระดับชุมชน ตอนที่ 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 33(3), 30–35.

มณี ภาชนะทอง, วไลภรณ์ สุทธา และ วรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์. การใช้ความร้อนระดับครัวเรือนเพื่อปรับปรุงคุณภาพของมะขามหวาน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 12(1), 102–112.

สิริธร สุภาคาร, สังวาล บุญจันทร์, จัตุพล ป้องกัน, สุระเดช สินจะโป๊ะ, บัณฑิต กฤตาคม และ รตินันท์ เหลือมพล. (2561, กรกฎาคม). การพัฒนาเครื่องอบแห้งเนื้อปลานิลโดยการใช้อากาศไฟลเวียนกลับเพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน. การประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32, มุกดาหาร, ประเทศไทย, 773–779.

สิริธร สุภาคาร, ธีรพล อุปชาบาล, ธนากร ยะสูงเนิน, รัชดาทิพย์ สุขสว่าง, วริศรา คอนเกตุ และ รตินันท์ เหลือมพล. (2561, กรกฎาคม). การพัฒนาเครื่องอบแห้งเนื้อปลานิลโดยการใช้อากาศไหลเวียนกลับร่วมกับวัสดุพรุนชนิดตาข่ายสเตนเลสเพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน. การประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32, 3 – 6 กรกฎาคม 2561, มุกดาหาร, ประเทศไทย, 834 – 838.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-17

How to Cite

[1]
สอนสารี ส., “การเพิ่มรายได้ของกลุ่มเกษตรกรมะขามเปรี้ยวยักษ์ จังหวัดพิษณุโลก ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 2, น. 93–103, ส.ค. 2021.