การกำหนดปริมาณที่เหมาะสมของทรัพยากรการผลิตน้ำตาลทรายดิบ ด้วยแบบจำลองสถานการณ์

ผู้แต่ง

  • สุกฤษฎิ์ เพชรสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธัชชัย เทพกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณัฐพร ตั้งเจริญชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การจำลองสถานการณ์, การผลิต, ปริมาณที่เหมาะสม, น้ำตาลทรายดิบ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ใช้แบบจำลองสถานการณ์เข้ามาเพื่อช่วยแก้ลักษณะปัญหาที่มีตัวแปลและปัจจัยต่างๆที่ไม่คงที่ในการผลิตน้ำตาลทรายดิบ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต หาจำนวนทรัพยากรในการผลิตที่เหมาะสม และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงที่สุด กระบวนการผลิตน้ำตาลดิบมีกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมากด้วยการส่งออกน้ำตาลไปขายต่างประเทศ ซึ่งมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงสายการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตใช้ต้นทุนสูง จึงมีจำเป็นอย่างมากที่จะต้องคำนวณหาทรัพยากรต่างๆให้มีความเหมาะสมก่อนทำการปรับปรุงจริง งานวิจัยนี้ได้ใช้ข้อมูลจริงจากโรงงานผลิตน้ำตาลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เพื่อดำเนินงานวิจัยแสดงเป็นแนวทางในการจำลองสถานการณ์เป็นระยะเวลาจำนวน 2 วันทำงาน โดยดำเนินการทำซ้ำจำนวน 100 รอบ เพื่อทำการคำนวณจำนวนของลูกหีบและปรับเปลี่ยนจำนวนชุดหม้อต่างๆให้มีความเหมาะสมเป็นผลให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นกว่าเดิมถึง 298.16 %

References

ชัยยะ ปานสังข์ (2554). การวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบย่อยโดยวิธีการจำลองสถานการณ์แบบมอนติ คาร์โล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

ชานินทร์ ศรีสุวรรณนภา, พัชรกัญณ์ บำรุง, พัฒวดี โตสินธุ์, รักชนก อุทธศรี และอัญฑิกา วรยศ. (2558, กุมภาพันธ์). การจําลองสถานการณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของแผนกอายุรกรรม ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธโสธร. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53, กรุเทพฯ, 259-266.

ธวัช ตินนังวัฒนะ (2543). การทำไร่อ้อยยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ศูนย์เกษตรอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

นทีกานต์ สุเมธสิทธิกุล (2556). ความรู้เบื้องต้น. (เอกสารประกอบการสอน), คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัฒนพงศ์ น้อยนวล และธนัญญา วสุศรี (2555). การปรับปรุงกระบวนการขนส่งภายในคลังสินค้าโดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมน้ำอัดลม. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 35(3), 323-334.

รสรินทร์ วงคงคำ (2555, ตุลาคม). การจำลองสถานการณ์เพื่อวางแผนจัดภาพแบบระบบการจ่ายก๊าซ LPG ณ คลังปิโตรเลียม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศซกรรมอุตสาหกรรม, เพชรบุรี, 89-92.

รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ และกิรพัฒน์ เล็กสุขสมบูรณ์ (2553, กันยายน). การจําลองสถานการณ์เพื่อช่วยในการตัดสินใจการควบคุมจังหวะสัญญาณไฟจราจร. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 ด้านการวิจัยดำเนินงาน, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

ลือเดช ฤาไกรศรี (2551). กระบวนการปรับปรุงการสีข้าวโดยวิธีการ Simulation เพื่อลดปัญหาการรอคิวของรถบรรทุกข้าวเปลือก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

วฐา มินเสน และพรเทพ อนุสสรนิติสาร (2553). จำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นหาปัจจัยแบบไม่ต่อเนื่องที่มีความสำคัญต่อสายการผลิตโดยใช้วิธีโดเมนความถี่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 18(2), 69-82.

สมภัสสร เอื้ออารีมิตร และธารทัศน์ โมกขมรรคกุล (2551). การปรับปรุงผังโรงงานโดยการใช้แบบจําลองสถานการณ์ : กรณีศึกษาของโรงงานผลิตเสื้อผ้าสําเร็จภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุภาวดี ผลพันธ์, เกรียงไกร แก้วตระกูลพงษ์, สมพงษ์ เจษฎาธรรมสถิต, เสาวลักษณ์ ยองรัมย์ และไฉไล กองทอง. (2556). การจำลองสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของกระบวนการเก็บเกี่ยวและคัดบรรจุเสาวรสหวาน กรณีศึกษา พื้นที่ขยายผลโครงการหลวงบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน. ประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 14 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6, 206-210.

Branislav, B., & Pavol, B. (2016, June). Trends in Simulation and Planning of Manufacturing Companies. International Conference on Manufacturing Engineering and Materials, 149, 571-575.

Mohsen, J., Tillal, E., Aisha, N., Lampros, K.S., & Terry, Y. (2010). Simulation in manufacturing and business: A review. European Journal of Operational Research, 203(1), 1-13.

Seleim, A., Azab, A., & AlGeddawy, T. (2012). Simulation Methods for Changeable Manufacturing. The 45th CIRP Conference on Manufacturing Systems, 179-184.

Sharif, H.M., Nickolas, K.F., David, M., & Michelle, D. (2013). Simulation optimization-based decision support tool for steel manufacturing. International Journal of Production Economics, 141, 269-276.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-06

How to Cite

[1]
เพชรสวัสดิ์ ส., เทพกรณ์ ธ. ., และ ตั้งเจริญชัย ณ. ., “การกำหนดปริมาณที่เหมาะสมของทรัพยากรการผลิตน้ำตาลทรายดิบ ด้วยแบบจำลองสถานการณ์”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 2, น. 138–155, ต.ค. 2021.